Page 79 - kpiebook65020
P. 79
40
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ตารางที่ 2 ตารางสรุปการจัดท า RIA ในกลุ่มประเทศก าลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม การด าเนินการวิเคราะห์ RIA ในประเทศก าลังพัฒนาหลายประเทศนั้นยังไม่มี
ระเบียบการวิจัยที่ชัดเจนและอาจยังมิได้มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง วิธีการในการวิเคราะห์ยังเป็นเพียงการ
รายงานสภาพปัญหาแบบเชิงบรรยายมากกว่าจะมีการเก็บข้อมูลและใช้วิธีการทางเศรษฐศาสตร์และสังคมเข้า
มาวิเคราะห์อย่างเป็นแบบแผน งานวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The Thailand
Development Research Institute) หรือ ทีดีอาร์ไอ (TDRI) ระบุว่า การด าเนินการวิเคราะห์ RIA ใน
ประเทศก าลังพัฒนานั้นมันจะพบอุปสรรคดังที่ส าคัญได้แก่ 1) ขาดข้อมูล 2) ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญใน
การจัดท า RIA และ 3) ขาดกระบวนการในการก าหนดนโยบายหรือตรากฎหมายที่ให้ความส าคัญกับการให้
68
ข้อมูลเชิงประจักษ์ (evidence based) และขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยเองเป็นหนึ่งในประเทศก าลังพัฒนาที่ประสบกับอุปสรรคดังกล่าวท าให้การ
ด าเนินการวิเคราะห์ RIA ในประเทศไทยไม่มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการ
ปฏิรูปการจัดท า RIA รวมถึงการสร้างกลไกในการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายผ่านมาตรา 77 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุธศักราช 2560 โดยแนวทางการจัดท า RIA ในประเทศไทยอาจสามารถ
สรุปโดยย่อได้ตามแผนภาพด้านล่าง โดยมีข้อสังเกตว่าขั้นตอนการจัดท า RIA ในประเทศไทยมีความสอดคล้อง
กับขั้นตอนการจัดท า RIA ในระดับสากล
68
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43.