Page 82 - kpiebook65020
P. 82

43

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               2.2 ความรู้พื้นฐานว่าด้วยนิติเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics)

                       หัวข้อนี้เป็นศึกษา (1)ข้อความคิดเบื้องต้นของนิติเศรษฐศาสตร์และ (2)การน าความรู้ทาง
               เศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์และประเมินความจ าเป็นในการตรากฎหมาย โดยในหัวข้อที่ (1)  จะกล่าวถึงข้อ
               ความคิดเกี่ยวกับหลักการนิติเศรษฐศาสตร์และค าศัพท์ต่าง  ๆ  ที่ส าคัญ โดยหลักการเหล่านี้ควรเป็นกรอบ

               ความคิดพื้นฐานในวิเคราะห์และประเมินความจ าเป็นในการตรากฎหมาย หัวใจของหลักของนิติเศรษฐศาสตร์
               แท้จริงแล้วไม่ใช่แค่เรื่องของหลักการและทฤษฎีแต่เป็นกระบวนการคิดและมุมมองที่ไม่ได้มองว่ากฎหมายเป็น
               แค่หลักการที่ต้องท าตาม แต่กฎหมายควรถูกประเมินจากผลประโยชน์และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากการบังคับใช้
               เสมอ ในหัวข้อที่ (2) จะเป็นตัวอย่างการน าแนวคิดใน (1) มาวิเคราะห์การออกกกฎหมาย

                       2.2.1 ข้อความคิดเบื้องต้นของนิติเศรษฐศาสตร์

                       นิติเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics)) เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาประเด็นส าคัญทางกฎหมาย
               ทฤษฎีกฎหมาย การตีความกฎหมาย การออกแบบกฎหมาย การประเมินคุณค่าของกฎหมาย และผลกระทบ

               ของกฎหมายต่อพฤติกรรมของผู้คน กลุ่มผู้คนหรือสถาบันในสังคมที่ โดยใช้ระเบียบวิธีหรือวิธีวิทยา
               (Methodology)  ทางเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมหรือนีโอคลาสสิก (Neoclassical  Economics)  เป็นกรอบและ
               เครื่องมือมาตรฐานในการวิเคราะห์โดยเฉพาะอยางยิ่งแบบจ าลองว่าด้วยการเลือกอย่างมีเหตุมีผล  (Rational
                             69
               Choice Model)  กล่าวโดยย่อ นิติเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ผสมผสานที่เกิดจากการน าเอาแนวความคิดทาง
               เศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายและวิเคราะห์ระบบกฎหมาย โดยหลักการเศรษฐศาสตร์ที่น ามาปรับใช้นั้นไม่ใช่สูตร
               ค านวณทางตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ แต่เป็นหลักการทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงพฤติกรรมของ
               มนุษย์และการจัดสรรทรัพยากรในสังคม ดังนั้นนิติเศรษฐศาสตร์จึงเป็นการพยายามท าความเข้าใจกฎหมายใน

               ฐานะที่เป็นข้อบังคับที่ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์และลักษณะของสังคม มิใช่แค่ศึกษากฎหมาย
               ตามที่ปรากฏในต ารา แต่ศึกษากฎหมายดังที่ปรากฏหรือควรปรากฏในสังคม

                       ทั้งนี้นิติเศรษฐศาสตร์ให้ความส าคัญกับมิติด้านประสิทธิภาพ  (Efficiency)  ของกฎหมาย ระบบ
                                                                                                    70
               กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุสวัสดิการสังคม (Social Welfare) สูงสุด หรือ
               เพิ่มประโยชน์สูงสุดในเกิดแก่สาธารณะ ซึ่งจุดมุ่งหมายนี้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการจัดท า RIA  เพื่อ

               ประเมินผลกระทบของกฎหมายและมุ่งเน้นการสร้างกฎหมายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยแนวคิดที่สอดคล้อง
               กันนี้การศึกษานิติเศรษฐศาสตร์จึงมีความส าคัญอย่างมากในการจัดท า RIA

                       การศึกษานิติเศรษฐศาสตร์เริ่มต้นจากการพิจารณาข้อความคิดพื้นฐานที่ว่ามนุษย์นั้นมีความจ าเป็นที่
               จะต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพื่อความอยู่รอด จะพบว่าการพึ่งพาอาศัยกันในสังคมของมนุษย์คือการ
               แลกเปลี่ยนทักษะและทรัพยากรซึ่งกันและกัน มนุษย์ที่มีความสามารถในการท าเกษตรจ าเป็นต้องแลกเปลี่ยน

               สินค้าเกษตรกับบ้านที่อยู่อาศัยจากมนุษย์ที่มีความสามารถในก่อสร้าง การแลกเปลี่ยนพึ่งพาอาศัยกันในสังคม
               ตั้งอยู่บนรากฐานที่ว่ามนุษย์ที่มีความสามารถจ ากัดจะต้องแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนมีกับบุคคลอื่นเพื่อความอยู่รอด


               69   ปกป้อง จันวิทย์,  “การวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยเศรษฐศาสตร์,” ใน บทความวิชาการ
               ประกอบการสัมมนา, จัดโดย สถาบันรพีพัฒนศักดิ์ ส านักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
               ไทย วันที่ 26 มกราคม 2553,  จาก<http://pokpong.org/wp-content/uploads/intro_lawandecon_presentation
               .pdf>.
               70  เพิ่งอ้าง.
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87