Page 83 - kpiebook65020
P. 83

44

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               ของทั้งคู่ การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นได้พัฒนาต่อไปเป็นระบบการค้าขาย ระบบการค้าขายนั้นมีลักษณะคล้ายการ
               แลกเปลี่ยนแต่มีการใช้เงินเข้ามาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ข้อดีของการก าหนดค่าเงินขึ้นมาเป็นตัวกลาง
               ในการแลกเปลี่ยนคือมนุษย์แต่ละคนสามารถวัดคุณค่าของสิ่งของที่ใช้แลกเปลี่ยนได้อย่างชัดเจนและสามารถ
               สื่อสารต่อรองการแลกเปลี่ยนคุณค่าของสิ่งของของตนกับคนอื่น ๆ ได้ผ่านการก าหนดราคา การก าหนดราคามี

               ความส าคัญต่อการแลกเปลี่ยนของมนุษย์ในสังคมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะท าให้มนุษย์สามารถรู้ถึงคุณ
               ค่าที่จะท าการแลกเปลี่ยนได้อย่างแน่นอนแล้วยังท าให้มนุษย์รู้ถึงค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ที่เกิดขึ้น
               จากแลกเปลี่ยนนั้น ๆ ด้วย แม้การแลกเปลี่ยนในสังคมจะดูราวกับว่าเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย แต่จริง ๆ แล้ว

               การท าการค้าหรือการแลกเปลี่ยนผ่านเงินเป็นตัวกลางนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อมีสถาบันทางสังคมที่สนับสนุนการ
               จัดการสังคมในลักษณะนี้ เช่น การให้สิทธิครอบครองทรัพย์สิน หากสังคมไม่มีสถาบันที่คุ้มครองสิทธิในการ
               ครอบครองทรัพย์สิน (กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์) ผู้คนในสังคมนั้นก็ไม่อาจอ้างเอาสินค้าหรือทรัพยากรที่ตนผลิต
               ขึ้นมาไปขายหรือแลกเปลี่ยนให้กับบุคคลอื่นได้ นอกจากนี้ แล้วในการแลกเปลี่ยน ค้าขาย หากสังคมไม่มี
               สถาบันที่ควบคุมให้การแลกเปลี่ยน ค้าขายด าเนินไปอย่างที่ผู้ขายและผู้ซื้อได้ตกลงกันไว้(กฎหมายเกี่ยวกับ

               สัญญา) การค้าขายก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ที่ส าคัญที่สุดสังคมจะต้องมีสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบังคับและรับรองสิทธิ
               ของมนุษย์ทั้งสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการท าสัญญา (กฎหมายรัฐธรรมนูญ) สถาบันที่เข้าไปจัดการสิทธิและ
               ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ก็จ าเป็นจะต้องตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้ว จะเห็นได้ว่าหาก

               พิจารณาผ่านมุมมองของเศรษฐศาสตร์แล้ว สถาบันทางสังคมโดยเฉพาะกฎหมายนั้นเป็นปัจจัยที่ส าคัญมากใน
                                                             71
               การขับเคลื่อนการด าเนินชีวิตของผู้คนในระบบเศรษฐกิจ
                       จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า กฎหมายในมุมมองของเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือที่เข้ามา
               ขับเคลื่อนกลไกทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจสังคม การเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยในตัวบทกฎหมายก็จะ
               ส่งผลต่อกลไกของระบบเศรษฐกิจสังคมด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วกฎหมายจึงไม่ใช่เพียงตัวบทกฎหมายเท่านั้นแต่

               เป็นเครื่องมือที่สามารถชี้น าการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระบบเศรษฐกิจสังคม
               เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์คือการวิเคราะห์กฎหมายผ่านสมมุติฐาน
               เบื้องต้นของระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อหาข้อสรุปว่าท้ายที่สุดแล้วกฎหมายมีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบ
               จากระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรและวิเคราะห์ต่อไปว่าจะท าอย่างไรให้กฎหมายและการใช้กฎหมายมี

               ประสิทธิภาพมากที่สุด

                       แม้ว่าแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างหรือผิดไปจากแนวคิดทางทฤษฎีหรือ
               หลักการกฎหมาย อย่างเรื่องคุณค่าที่เป็นสากลและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของสิทธิและความยุติธรรม นอกจากนี้
               การวิเคราะห์กฎหมายด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ มักตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า ผู้คนทุกคนล้วนมีเหตุผลและกฎหมาย
               จะสามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนที่มีเหตุผลในสังคมได้ แต่ในความเป็นจริงมิใช่ว่าผู้คนทุกคนจะมี

               เหตุผลและกฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้คนได้อย่างถูกต้องทั้งหมด แต่การปฏิเสธที่จะน าแนวคิด
               ในทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ประกอบการพิจารณาในการพัฒนากฎหมายในประเทศไทยโดยสิ้นเชิงจะท าให้การ
               พัฒนากฎหมายขาดข้อมูลที่ครบถ้วน การน าความรู้จากศาสตร์ในลักษณะของสหวิทยาการจะช่วยให้การ

               พัฒนากฎหมายมีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นแล้วการปรับใช้หลักการทางนิติเศรษฐศาสตร์จึงเน้นย้ า





               71  Anthony Ogus, Costs And Cautionary Tales: Economic Insights for the Law, (Oxford:Hart Publishing, 2006)
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88