Page 84 - kpiebook65020
P. 84
45
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
เรื่องการเปิดมุมมองของนักกฎหมายให้มองกฎหมายได้หลากหลายมากขึ้นแทนที่จะจ ากัดอยู่ที่ความเข้าใจ
72
กฎหมายในเชิงทฤษฎีเพียงอย่างเดียว
ในส่วนต่อไปจะเป็นการอธิบายการน าความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ไปปรับใช้กับการตรวจสอบ
ความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย
(1) ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)
เนื่องจากระบบเศรษฐศาสตร์ตั้งอยู่บนฐานความเข้าใจว่าทรัพยากรบนโลกมีอย่างจ ากัด จึงต้องมี
วิธีการในการเลือกใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เศรษฐศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่พิจารณาถึงการเลือกทาง
ใดทางหนึ่งและเมื่อเลือกไปแล้วก็ไม่สามารถเลือกเส้นทางอื่น ๆ ใด หรือกล่าวให้เข้าใจตามส านวนไทยคือ
73
ความจ าเป็นต้องเลือกท าให้ไม่สามารถ “จับปลาสองมือ” ได้นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น ในการเลือกแต่ละครั้งย่อม
เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสซึ่งจะวัดได้จากมูลค่าของทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาทางเลือกทั้งหลายที่ไม่ได้ถูกเลือก
หากจะยกตัวอย่างในแง่มุมของการออกกฎ ยกตัวอย่าง เช่น การที่ผู้ออกกฎใช้ทรัพยากรทั้งเวลา ความคิดและ
งบประมาณในการออกกฎห้ามขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วเกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปแล้ว ท าให้ผู้ออกกฎ
ต้องแบกรับต้นทุนค่าเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรทั้งเวลา ความคิดและงบประมาณในการติดตั้งลูกระนาด
(speed bump) เพื่อลดความเร็วของรถยนต์บนท้องถนน เนื่องจากทรัพยากรทั้งเวลา ความคิดและ
งบประมาณของผู้ออกกฎนั้นย่อมมีจ ากัดนั่นเอง
(2) ระบบตลาด (Market system)
สมมุติฐานส าคัญในแนวคิดเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมคือ ความเชื่อที่ว่า ในระบบตลาด ทรัพยากรภายใน
ตลาดจะถูกจัดสรรปันส่วนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยการท างานของมือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand)
หรือกลไกอุปสงค์จากผู้ซื้อและอุปทานจากขายหรือผู้ผลิตในตลาดนั้นเอง ดังนั้น ในระบบตลาดสมบูรณ์ การ
จัดสรรทรัพยากรจะมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยที่รัฐไม่จ าเป็นจะต้องเข้าไปแทรกแซงตลาด อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้
กล่าวไปแล้วข้างต้น การที่รัฐไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดไม่ได้หมายความว่ารัฐจะไม่มีบทบาทใด ๆ ในระบบ
เศรษฐกิจเลย เพราะกลไกของตลาดทุนนิยมจะเกิดขึ้นได้จ าเป็นจะต้องมีโครงสร้างทางสถาบันที่สนับสนุนใน
74
ตลาดสามารถด าเนินไปได้ และกลไกทางกฎหมายก็เป็นหนึ่งในโครงสร้างทางสถาบันดังกล่าว ดังนั้นการ
เปลี่ยนแปลงใด ๆ ทางกฎหมายหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งต่อโครงสร้างของระบบตลาดและการท างานของตลาด
อยู่เสมอ โดยเฉพาะปัญหาว่าตลาดจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไรและใครจะได้รับผลผลิตไป
เพื่อให้ระบบตลาดสามารถท างานได้อย่างสมบูรณ์ โครงสร้างขอระบบตลาดรวมไปถึงกลไกทาง
75
กฎหมายจะต้องส่งเสริมปัจจัยดังต่อไปนี้
72 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, “โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์กฎหมายด้วยวิธีทางเศรษฐศาสตร์ :การคิด
ค่าเสียหายในคดีละเมิด,” ส านักงานศาลยุติธรรม, (2553) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จาก https://docs.google
.com /viewerng/viewer?url=https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2012/09/I27.pdf
73
ชยันต์ ตันติวัสดาการ, เศรษฐศาสตร์จุลภาค: ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพ:ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2552),น.2
74
เพิ่งอ้าง, น.7.
75 เพิ่งอ้าง, น.9.