Page 86 - kpiebook65020
P. 86
47
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
กับข้อมูลที่เกิดขึ้นในโลกจริงว่าแบบจ าลองมีความแม่นย้ าแค่ไหน หากไม่แม่นย้ าก็จะท าการปรับเปลี่ยน
77
แบบจ าลองนั้นต่อไป แบบจ าลองใดที่ไม่ถูกต้องจะถูกละทิ้งและสร้างแบบจ าลองใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทน
ดังนั้น การวิเคราะห์ประเมินกฎหมายนั้นเป็นการปรับใช้ข้อมูลในโลกจริงเข้ากับแบบจ าลองทาง
เศรษฐศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาแล้วว่าจะน าไปสู่การคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เช่น การเลือกออกกฎเมื่อมี
ต้นทุนน้อยกว่าประโยชน์ การวิเคราะห์เช่นนี้ตั้งอยู่บนแบบจ าลองทางเศรษฐศาสตร์ที่อนุมานว่า ทางเลือกที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุดคือทางเลือกที่มีต้นทุนน้อยกว่าประโยชน์ การวิเคราะห์และประเมินกฎหมายโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการจัดท า RIA จึงเป็นการปรับใช้แบบจ าลองทางเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ในการปรับใช้แบบจ าลองเหล่านี้ ผู้ใช้งานควรพึงระลึกไว้เสมอว่าในบางครั้งแบบจ าลอง
ก็มีข้อจ ากัดและไม่อาจวิเคราะห์ข้อเท็จจริงออกมาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานก็ไม่ควรด่วน
สรุปว่าแบบจ าลองทางเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเพียงข้ออนุมานหรือข้อสมมุติที่ไม่จริงและไม่อาจปรับใช้งานกับ
การวิเคราะห์กฎที่เกิดขึ้นจริง ๆ ได้ การใช้งานแบบจ าลองเหล่านั้นนั้นเป็นเหมือนการใช้แผนที่น าทางไปสู่
78
จุดหมาย สัญลักษณ์บนแผนที่นั้นอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ได้มีลักษณะเป็นรูปตึกจริง ๆ แต่สัญลักษณ์ก็มีความ
สมจริงอยู่หากเป้าหมายของการใช้งานแผนที่ไม่ใช่การอธิบายถึงภูมิทัศน์ระหว่างทางแต่คือการน าทางไปสู่
จุดหมาย ความน่าเชื่อถือและประโยชน์ของการใช้แบบจ าลองและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ข้อมูล
ในความเป็นจริงอย่างข้อมูลในการออกกฎหมายจึงเปรียบดังการใช้แผนที่ทีดีมาน าทางให้การออกกฎนั้น
สามารถบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการได้
(5) มนุษย์มีเหตุผลและจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อแรงจูงใจ
ข้อสมมติฐานตั้งต้นของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คือ มนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ (Homo Economicus) มี
เหตุมีผลทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Rationality) และตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ (Incentives) กล่าวคือ นัก
เศรษฐศาสตร์มองว่ามนุษย์ต่างจะแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนให้ได้มากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขและข้อจ ากัดที่
79
เผชิญ (Rational Maximizer under Constraints) โดยนักเศรษฐศาสตร์จะคิดค านวณผลประโยชน์ของ
มนุษย์ผ่านหลักอรรถประโยชน์นิยม (Utility) อรรถประโยชน์ของคนผู้หนึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อเขาได้รับสิ่งที่สร้าง
ความพึงพอใจให้แก่เขา เช่น เงิน สินค้า บริการ และการมีสุขภาพที่ดี เป็นต้น ในทางกลับกัน อรรถประโยชน์
ของคนผู้หนึ่งจะลดลงเมื่อเขาได้สูญเสียสิ่งที่สร้างความพึงพอใจให้แก่เขา ดังนั้นเมื่อบุคคลได้รับบาดเจ็บหรือ
80
ทรัพย์สินถูกท าลายอรรถประโยชน์ของบุคคลผู้นั้นจะลดลง ดังนั้น อรรถประโยชน์สูงสุดจึงเป็นส่งที่มนุษย์
ใฝ่หาและจะพยายามเพื่อสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดให้ได้ ความคิดในลักษณะคือการใช้เหตุผลของมนุษย์ตาม
ความเข้าใจเศรษฐศาสตร์ เมื่อเข้าใจถึงการใช้เหตุผลของมนุษย์ตามหลักอรรถประโยชน์แล้ว กฎหมายจึงถูก
อาจมองว่าเป็นข้อจ ากัดไม่ให้มนุษย์สามารถเพิ่มอรรถประโยชน์สูงสุดให้ตนเองได้ เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเพิ่ม
อรรถประโยชน์ให้ตัวเองได้เต็มที่สังคมโดยรวมก็ไม่อาจเพิ่มอรรถประโยชน์สูงสุดได้ กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่
ต่อต้านกับความเข้าใจเหตุผลของมนุษย์และจ ากัดการเพิ่มอรรถประโยชน์ในสังคม ดังนั้นแนวคิดนิติ
77
เพิ่งอ้าง, น.11.
78
เพิ่งอ้าง, น.12.
79
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43.
80 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถ 46.