Page 85 - kpiebook65020
P. 85

46

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       ประการที่หนึ่ง โครงสร้างจ าเป็นต้องส่งเสริมให้ตลาดมีการแข่งขันที่สมบูรณ์ กล่าวคือ ไม่มีผู้ผลิตราย
               ใดมีอ านาจเหนือผู้อื่น ผู้ผลิตด้วยแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและไม่มีการครอบง าตลาด (monopoly)

                       ประการที่สอง โครงสร้างตลาดจ าเป็นต้องไม่สร้างผลกระทบภายนอก (externality)  ผลกระทบ
               ภายนอกคือผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกเหนือการควบคุมของกลไกลตลาด  กล่าวคือ ผลกระทบเหล่านี้ไม่ได้ถูกคิด

               ค านวณอยู่ในต้นทุนการผลิตหรือการบริโภค ดังนั้น กลไกของตลาดที่ใช้ราคาเป็นตัวก าหนดการแบ่งปัน
               ทรัพยากรจึงไม่สามารถท างานได้อย่างสมบูรณ์

                       ประการที่สาม โครงสร้างตลาดจะต้องส่งเสริมให้สินค้าที่อยู่ในตลาดเป็นสินค้าเอกชน และปราศจาก
               ปัญหาการฉวยโอกาส (Free  Rider)  เพื่อให้ผู้ขายในตลาดมีแสวงหารายได้ได้เพียงพอต้นทุนและมีความ
               ต้องการจะเป็นผู้ขายต่อไปในตลาด

                       ประการที่สี่ โครงสร้างของตลาดต้องส่งเสริมให้มีข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์และสมมาตร ท าให้ผู้ซื้อ
               และผู้ขายในตลาดสามารถมีข้อมูลมากพอประกอบการตัดสินอย่างมีเหตุผลได้


                       ตามแนวคิดกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ กฎหมายถูกมองว่าเป็นโครงสร้างของระบบทุนนิยมเสรีดังนั้น
               แล้วการใช้และตีความกฎหมายจึงควรเป็นไปในลักษณะที่ส่งเสริมปัจจัยทั้งสี่ข้อ เพื่อให้ระบบตลาดด าเนินการ
               จัดสรรทรัพยากรในสังคมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการใช้กฎหมายเพื่อส่งเสริม
               ปัจจัยทั้งสี่อาจส่งผลในทางตรงข้ามและท าให้กฎหมายเข้าไปเป็นอุปสรรคเชิงโครงสร้างต่อการพัฒนาระบบ

               ตลาดเสรีนิยมได้เช่นกัน  ดังนั้น เมื่อการใช้กฎหมายล้วนแต่ส่งผลอย่างใกล้ชิดต่อระบบเศรษฐกิจ ผู้ใช้กฎหมาย
               จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้กฎหมายอยู่เสมอ

                       (3) ประสิทธิภาพแบบพาเรโต (Pareto Efficiency)

                       ประสิทธิภาพแบบพาเรโตเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินว่าการจัดสรรทรัพยากรในมีประสิทธิภาพ
               หรือไม่โดยการเพิ่มประสิทธิภาพแบบพาเรโต หมายถึง การจัดสรรทรัพยากรทีท าให้สวัสดิการของสมาชิกใน
               สังคมอย่างน้อยหนึ่งคนดีขึ้นโดยที่ไม่ท าให้สวัสดิการของคนอื่น ๆ ในสังคมลดลง ดังนั้นจึงไม่สนับสนุนการ
                                                                                              76
               จัดสรรทรัพยากรเพื่อท าให้บุคคลหนึ่งมีสวัสดิการสูงขึ้นได้ โดยไม่ท าให้บุคคลอื่นมีสวัสดิการลดลง

                       (4) การใช้แบบจ าลองทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ปัญหา

                       แม้ว่าเศรษฐศาสตร์อาจเป็นวิชาที่มีความเกี่ยวพันกับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างเด่นชัด แต่แท้จริงแล้ว
               หัวใจหลักของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการคัดเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในทรัพยากรที่
               จ ากัด แต่แทนที่วิชาเศรษฐศาสตร์จะศึกษาวิธีการคัดเลือกดังกล่าวผ่านการทดลองหรือสังเกตเพื่อตั้งสมมุติฐาน
               ดั่งวิชาวิทยาศาสตร์หรือจากการเก็บข้อมูลและศึกษาผู้คนดังวิชาสังคมศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์เลือกใช้วิธีการ

               สร้างแบบจ าลองหรือโมเดลในการศึกษาแทนการทดลองกับสังคมจริง ๆ แบบจ าลองเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากการ
               ข้ออนุมานถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนจะแปรรูปข้ออนุมานทั้งหลายมาเป็นสมการความสัมพันธ์หรือ
               รูปแบบกราฟ แบบจ าลองเหล่านี้มักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจและสังคมหรือในหลายครั้งก็

               ใช้ในการคาดเดาท านายพฤติกรรมต่าง ๆ ในระบบ เมื่อนักเศรษฐศาสตร์สร้างแบบจ าลองส าเร็จจึงน าไปปรับใช้





               76  เพิ่งอ้าง, น.316.
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90