Page 88 - kpiebook65020
P. 88

49

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       ในทางนิติเศรษฐศาสตร์ มีทฤษฎีที่ส าคัญชื่อว่า Coase’s  Theorem  ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า การ
                                                          81
               จัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจจะคุ้มค่าที่สุดเมื่อ
                       (1) มีการก าหนดสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรไว้อย่างชัดเจนโดยที่สิทธินั้นสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

                       (2) และการเจรจาตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้นไม่มีต้นทุนในการด าเนินการ (transaction costs)

                       เมื่อปรับใช้ Coase’s  Theorem  กับกฎหมายจะได้ผลลัพธ์ว่า กฎหมายต้องสร้างสิทธิในการส่งเสียง
               ดังจากโรงน้ าแข็งขึ้นมา โดยผู้ที่ถือครองสิทธินี้จะสามารถปล่อยมลภาวะทางเสียงได้เต็มที กล่าวในค าศัพท์

               กฎหมายสิทธิในการส่งเสียงมีลักษณะเหมือนสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพย์ที่มีลักษณะของสิทธิที่เหนือกว่าผู้อื่น
               เมื่อก าหนดสิทธิในการส่งเสียงขึ้นมาแล้ว สิทธินี้ต้องสามารถซื้อขายได้เหมือนสินค้าอื่น ๆ ในตลาด โดยผู้ใดที่
               ต้องการซื้อสิทธิก็ต้องเสนอราคาของสิทธิขึ้นมา หากมีคนที่ต้องการได้สิทธินี้หลายคนพวกเขาก็ต้องตั้งราคามา
               แข่งกัน ใครที่ตั้งราคาสูงสุดก็จะได้สิทธินี้ไป จะเห็นได้ว่ายิ่งใครตั้งราคาสิทธินี้สูงมากขึ้นเท่าไหร่ ก็แปลว่าคนนั้น
               อยากได้สิทธินี้มากเพราะสิทธินี้จะสร้างอรรถประโยชน์ให้เขามากกว่าคนอื่น ๆ ดังนั้นแล้วเมื่อสิทธิตกไปอยู่ใน

               มือคนที่ยอมจ่ายราคาสูงสุด สิทธินี้จะตกไปอยู่ในมือของคนที่จะสร้างอรรถประโยชน์จากสิทธิได้มากที่สุดท าให้
               ท้ายที่สุดสังคมจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากอรรถประโยชน์ของบุคคลที่เพิ่มขึ้น

                       ในกรณีของการออกกฎหมายห้ามส่งเสียนั้น เป็นการที่รัฐตัดสินเลือกจะมอบสิทธิในการส่งเสียงให้กับ
               นาย ข และนาย ข เลือกที่จะใช้สิทธิไปบังคับให้นาย ก ห้ามส่งเสียดังอีก แต่ในทางตรงข้าม หากปล่อยให้กลไก

               ตลาดเข้ามาจัดสรรราคาของสิทธิในการส่งเสียงแทนกฎหมาย กลไกตลาดจะมอบสิทธิให้กับผู้ที่ให้ราคาสูงที่สุด
               จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น นาย ก และ นาย ข ล้วนอยากได้สิทธิในการส่งเสียงทั้งคู่ โดยนาย ก จะใช้สิทธิโดย
               การเปิดโรงน้ าแข็งในหมู่บ้านต่อไป และ นาย ข จะใช้สิทธิในการไม่ส่งเสียงใด ๆ อีกเลย ทั้งสองคนจะต้องเสนอ
               ราคาที่ต้องการซื้อสิทธิการส่งเสียงแข่งกัน โดยในทางกฎหมาย ราคาของสิทธิในกรณีนี้จะเท่ากับ ค่าปรับ ที่

               นาย ก ต้องจ่ายใน นาย ข แลกกับการส่งเสียงดังต่อไป หรือ เป็นราคาของสัญญาที่นาย ข จะต้องไปท ากับนาย
               ก ว่า หากนาย ก ยอมไม่ส่งเสียงดัง นาย ข จะให้เงินจ านวนหนึ่งกับนาย ก เป็นการตอบแทน ดังนั้นแล้วการ
               มอบหรือสร้างสิทธิขึ้นมาและปล่อยให้กลไกตลาดควบคุมราคา นาย ก กับ นาย ข จะสามารถเจรจาต่อร้องกัน
               ได้ว่าสุดท้ายใครจะได้สิทธิไปและในราคาเท่าไหร่ โดยเป็นการปล่อยให้ นาย ก กับ นาย ข ผู้มีข้อมูลมากทีสุด

               ในการประเมินราคาของสิทธิสร้างราคาของสิทธิ  การให้ นาย ก และ นาย ข เป็นผู้ตั้งราคายังเป็นวิธีการที่มี
               ประสิทธิภาพที่สุดเพราะนาย ก และ ข เป็นผู้เข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดและลดการเกิดปัญหาข้อมูลไม่เพียงพอที่
               อาจจะน าไปสู่ภาวะตลาดล้มเหลวในอนาคต

                       อย่างไรก็ตาม หากพิจารณา Coase’s Theorem แล้วจะพบว่าการเจรจาระหว่างคู่กรณีแทนการออก
               กฎเข้าควบคุมทันที เป็นการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบทางลบน้อยทีสุดแล้วและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกฎ

               ล้มเหลว อย่างไรก็ตามการเจรจาจะน าไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุดถ้า ในการเจรจานั้นไม่มี ต้นทุนในการด าเนินการ
               (transaction  costs) ต้นทุนนี้คือ ต้นทุนอื่น  ๆ นอกเหนือจ ากต้นทุนก าไรการผลิตหรือเงินลงทุน โดยอาจจะ
               แบ่งย่อยได้เป็น ค่าค้นหา (search cost) ค่าเจรจาต่อร้อง (bargaining cost) และค่าบังคับ (enforcement






               81
                  ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์, “เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐศาสตร์สาธารณะ บทที่ 4 ปัญหาผลกระทบต่อผู้อื่น,” สืบค้นเมื่อ
               22 ตุลาคม 2563, จาก <pioneer.netserv.chula.ac.th>~a…PDF Positive externalities>.
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93