Page 89 - kpiebook65020
P. 89

50

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                    82
               cost)   โดยต้นทุนในการค้นหาจะมีราคาสูงเมื่อสินค้าหรือบริการนั้นหายากหรือมีหนึ่งเดียว หากการใช้
               กฎหมายไม่น าไปสู่ความเข้าใจที่ว่าสิทธิในส่งส่งเสียงสามารถซื้อขายได้ ค่าค้นหาอาจรวมไปถึงค่าปรึกษาทนาย
               เพื่อขอความเห็นทางกฎหมาย เป็นต้น

                       นอกจากค่าค้นหาแล้ว คู่กรณียังต้องจ่ายค่าเจรจา ต้นทุนของของการเจรจาต่อรองนั้นขึ้นอยู่กับว่า
                                                               83
               คู่สัญญารู้ถึงราคาหรือข้อมูลของอีกฝ่ายมากน้อยเพียงใด  เช่น หากนาย ก ทราบว่า นาย ข จะ ยินยอมให้
               นาย ก ส่งเสียดังต่อไปได้หากนาย ข ได้รับเงินจากนาย ก เดือนละ 200  บาท รวมถึงให้นาย ก จองที่พักใน
               โรงแรมให้นาย ข ไปพักหนีความร าคาญเดือนละสองครั้งด้วย หาก นาย ก ทราบถึงข้อมูลนี้ กล่าวคือ ทราบถึง
               ราคาที่นาย ข ต้องการจะจ่ายส าหรับสิทธิในการส่งเสียง นาย ก ก็สามารถเปิดการเจรจาต่อรองกับนาย ข ได้
               ทันที อย่างไรก็ตามการที่นาย ก กับ นาย ข จะเจรจากันด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนพร้อมแลกเปลี่ยนกัน นาย ก กับ

               นาย ข จะต้องมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน หาก นาย ก กับ นาย ข เป็นเพื่อนบ้านที่ทะเลาะเบาะแว้งกันมา
               ตลอด ต้นทุนในการเจรจาระหว่างทั้งสองก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นแล้ว หากกฎหมายสามารถส่งเสริมให้นาย ก
               กับ นาย ข ตกลงร่วมกันได้ หรือ กฎหมายสามารถลดต้นทุนการเจรจาได้ อาจจะสามารถแก้ปัญหามลภาวะทั้ง

               เสียงระหว่างนาย ก กับ ข ได้ทันที เช่น กฎหมายอาจก าหนดให้เพื่อนบ้านที่มีปัญหาจะต้องเจรจากันเองก่อน
               โดยมีเจ้าหน้าที่เข้าไปก ากับควบคุม หากเจรจาล้มเหลวจึงค่อยด าเนินการฟ้องร้อง กฎหมายลักษณะนี้อาจมี
               ต้นทุนเพิ่มเติมคือต้นทุนที่ต้องส่งเจ้าหน้าที่หรือคนกลางเข้าไปควบคุมการเจรจา เพื่อลดต้นทุนนี้อาจจะออก
               กฎหมายในลักษณะอื่นแทน เช่น ก าหนดให้เพื่อนบ้านต้องเจรจากปัญหากันก่อนจะฟ้องร้องต่อศาลและในการ

               เจรจา คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ต้องให้ความร่วม (duty  to  cooperate)  และให้ข้อมูลแก่อีกฝ่าย
               (information disclosure)ระหว่างการเจรจา นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ค่าเจรจาต่อรองยังรวมไป
               ถึงการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะอื่น ๆ เช่น กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับการท าสัญญา หากนาย ก และ ข เจรจากันได้
               และต้องการท าสัญญา นาย ก กับ นาย ข จ าเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการท าสัญญา และข้อมูลนี้นับเป็นค่า

               เจรจาที่ต้องจ่ายเช่นกัน
                       ค่าใช้จ่ายส่วนสุดท้ายคือ ค่าบังคับ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ใช้ในการบังคับให้คู่กรณีทั้งคู่ท าตามที่ได้ตกลงกันไว้
               ค่าบังคับนั้นแปรผันโดยตรงผ่านกฎหมายแพ่งโดยเฉพาะในเรื่องสัญญาและหนี้ ซึ่งจ าเป็นต้องใช้หลักนิติ
               เศรษฐศาสตร์เข้าไปวิเคราะห์ว่ากฎหมายนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่

                       โดยสรุปแล้ว หากพิจารณาตามต้นทุนในการด าเนินการ (transaction costs) จะพบว่า สถานการณ์ที่
               มีต้นทุนในการด าเนินการต่ าและสูงมีลักษณะดังต่อไปนี้










               82
                  ธรรมนิตย์ สุมันตกุล, “กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ (LAW AND ECONOMICS) : กฎหมายว่าด้วยทรัพย์ กฎหมายสัญญา
               กฎหมายละเมิดและกฎหมายสิ่งแวดล้อม,”  ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, (2558)  สืบค้นเมื่อ 22  ตุลาคม 2563, จาก
               <http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=263 >
               83  เพิ่งอ้าง.
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94