Page 90 - kpiebook65020
P. 90
51
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ตารางที่ 3 ตางรางแสดงสถานการณ์ที่มีต้นทุนในการด าเนินการต่ าและสูง
ที่มา : ธรรมนิตย์ สุมันตกุล, “กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ (LAW AND ECONOMICS):กฎหมายว่าด้วยทรัพย์ กฎหมายสัญญา
กฎหมายละเมิดและกฎหมายสิ่งแวดล้อม” ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ความรู้เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย เล่ม 2 (2558)
สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 <http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&act Code=263 >
ในท้ายที่สุดแล้วการแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงระหว่างเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นขึ้นอยู่กับ
ว่าต้นตอปัญหาที่แท้จริงคืออะไรและกฎหมายควรจะเข้าไปแก้ไขตรงไหน การปรับใช้หลักนิติเศรษฐศาสตร์ใน
การวิเคราะห์กฎหมายอาจไม่ได้ช่วยให้ได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาโดยทันที เพราะท้ายที่สุดแล้วปัญหาที่เกิดขึ้น
ย่อมต้องการหลักฐานเชิงประจักษ์มาพิสูจน์ว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นจริง ๆ และหลักการนิติเศรษฐศาสตร์เพียงแต่
น าเสนอหลักการวิธีคิดที่ยังต้องการให้ผู้ออกกฎหมายใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างกฎหรือวิธีการ
แก้ปัญหาที่สอดคล้องกับข้อสรุปของทฤษฎี แต่อย่างไรก็ตามหลักนิติเศรษฐศาสตร์สามารถเข้ามาช่วยอธิบาย
และเสนอวิธีวิเคราะห์เพื่อเข้าใจปัญหาในมุมมองที่แตกต่างออกไป เมื่อทราบต้นตอของปัญหาอย่างชัดแจ้งและ
เป็นระบบก็จะให้สามารถคิดค้นหรือก าหนดหลักหรือข้อกฎหมายขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรง
เป้าประสงค์และที่ส าคัญที่สุดการท าตามหลักนิติเศรษฐศาสตร์ยังท าให้ผู้ออกกฎหมายสามารถมั่นใจได้ในระดับ
หนึ่งว่าหลักหรือข้อกฎหมายนั้นน่าจะมีประสิทธิภาพสูงสุด