Page 18 - kpiebook65053
P. 18

“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น”  โดย สถาบันพระปกเกล้า

                                                   (3.1.1.3) น าเงินกองทุนดังกล่าวนี้ มาจัดสรรเป็นบ าเหน็จหรือ
               บ านาญ ให้แก่เกษตรกรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

                                        ถ้าหากประเทศไทยมีระบบสวัสดิการ ส าหรับเกษตรกรตามมาตรฐานดังกล่าวนี้
               จะท าให้เกษตรกรไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในชนบท มีรายได้ที่มั่นคงหลังอายุ 60 ปี ซึ่งมีสมรรถภาพในการท างาน
               น้อยลง หรืออาจไม่สามารถท างานได้เหมือนวัยแรงงาน ระบบกองทุนดังกล่าวนี้ จะช่วยจูงใจให้แรงงานรุ่นใหม่
               มีความสนใจ ที่จะอยู่ในภาคเกษตรมากขึ้น และยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ าทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบ

               อาชีพเกษตรกรรมได้อีกด้วย
                                            (3.1.2) ขยายความคุ้มครองการประกันสังคมให้ครอบคลุมผู้ประกอบอาชีพ
               เกษตรกรรมอิสระให้เป็นผู้ประกันตนอีกประเภทหนึ่ง ให้มีสิทธิในการเข้าถึงประโยชน์คุ้มครองได้เช่นเดียวกัน
               ผู้ประกันตนประเภทอื่นๆ

                                     (3.2) สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาระบบการออมของคนไทยทั้ง
               ประเทศ โดยใช้วิธีการออมจากรายจ่ายด้วยมาตรการดังนี้
                                            (3.2.1)  ให้มีการออมจากการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยทุกๆคนจ่าย
               ภาษีมูลค่าเพิ่มให้มีการหักเป็นเงินออมแก่ผู้จ่ายภาษีจ านวนร้อยละ 3 และรัฐจ่ายสมทบร้อยละ 2 รวมเป็นมี

               การออมทุกครั้งที่จ่ายเงินซื้อสินค้ารวมร้อยละ 5 ตลอดช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดคนถึงอายุ 60 ปี โดยหักเงินออม
               เข้าบัญชีเงินออมของผู้จ่ายภาษีตามหมายเลขบัตรประชาชน
                                            (3.2.2)  ให้มีการน าเงินออมจากภาษีมูลค่าเพิ่มรวมทั้งประเทศไปลงทุนเพื่อ

               หารายได้เพิ่มและน ารายได้เพิ่มไปสะสมเฉลี่ยคืนให้แก่ประชาชน
                                            (3.2.3)  เมื่อคนไทยอายุครบ 60 ปี ให้มีการหักระบบการจ่ายคืนเงินออม
               ในรูปของการเฉลี่ยคืนเป็นรายเดือนเพื่อเป็นรายได้ยังชีพส าหรับผู้สูงอายุ
                                        การออมด้วยระบบนี้ จะท าให้คนไทยในอนาคตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทุกคน มี
               รายได้จากการออม ซึ่งจ านวนเงินสะสมจากการออม จะขึ้นอยู่กับรายจ่ายของแต่ละบุคคล มาตรการดังกล่าวนี้

               จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในชนบท ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้มีรายได้เพียงพอต่อการด ารงชีพ
                              4) การก าหนดนโยบายของรัฐบาลและพรรคการเมือง ไม่ควรมีนโยบายประชานิยมใน
               ลักษณะให้ประชาชนคอยรับผลประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว หรือคอยพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐเท่านั้น ซึ่งจะ

               ส่งผลให้คนไทยเป็นพลเมืองที่เฉื่อยชาและคอยรับประโยชน์จากรัฐ (Passive citizen) ซึ่งจะมีผลให้พลเมือง
               ไทยอ่อนแอลงเป็นอุปสรรคต่อการสร้างชุมชนจัดการตนเอง หากจะมีการใช้นโยบายประชานิยมควรเป็น
               นโยบายประชานิยมที่ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของพลเมืองและชุมชน ให้พลเมืองได้มีส่วนร่วมในการ
               บริหารจัดการและรับประโยชน์ และส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณภาพสังคมและพลังทางสังคมของคนชนบท

               เช่นการมีกองทุนพัฒนาทุนทางสังคมและวัฒนธรรม กองทุนแรงงานคืนถิ่น เป็นต้น

               ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยต่อไป

                       จากการศึกษานี้ พบว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชนบท ท้องถิ่นของประเทศไทย มีความ
               จ าเป็นเพื่อรองรับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในยุคชีวิตวิถีใหม่ จึงควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้าง
               องค์ความรู้ ค้นหาแนวทางขับเคลื่อนนโยบายให้เป็นจริง ตลอดจนนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อน าไปประยุกต์ใช้ให้เกิด

               สังคมที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดคุณภาพสังคมที่ดี รวมทั้งประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีประเด็น
               ที่ควรท าการศึกษาวิจัย ที่ส าคัญ คือ การศึกษาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของสังคมชนบทท้องถิ่น
               ด้วยการศึกษาเพื่อสร้างชุมชนจัดการตนเอง รูปแบบการกระจายอ านาจสู่ชุมชนอย่างแท้จริง และการ




                                                           17
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23