Page 185 - kpiebook65064
P. 185

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   135
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                       1. เร่งดำเนินการทบทวนทะเบียนตำรับยาที่มีความเสี่ยงสูงหรือเป็นปัญหาสำคัญ

                                         ควบคู่กับการพัฒนาระบบการทบทวนทะเบียนตำรับยา
                                       2. จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนทะเบียนตำรับยา และเสนอต่อ

                                         คณะกรรมการยานำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยาตามความเหมาะสม

                                       3. จัดทำแผนปฏิบัติการทบทวนทะเบียนตำรับยาทั้งระบบ  3
                                     โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาทบทวนทะเบียนตำรับยาตามประกาศสำนักงาน

                           คณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยาที่จะทบทวนทะเบียนตำรับ
                           ยา พ.ศ. 2554 มีดังนี้ 4

                                       1. ยาที่มีหลักฐานความไม่ปลอดภัยเช่น ยาที่ถูกเพิกถอนในต่างประเทศ หรือยาที่มี
                                         หลักฐานไม่เพียงพอว่าปลอดภัย

                                       2. ยาที่มีหลักฐานว่าไม่มีประสิทธิผลหรือยาที่ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอว่ามีประสิทธิผล
                                         เช่น ยาที่อยู่ในรูปแบบยาที่ไม่มีประสิทธิผล ขนาดยาไม่ถึงขนาดการรักษา

                                       3. ยาที่มีการแสดงข้อบ่งใช้ที่ไม่ระบุชัดเจน ตามคุณสมบัติของข้อบ่งใช้ที่ขึ้นทะเบียน

                                         ที่กำหนด
                                      4. ยาที่มีปัญหาคุณภาพมาตรฐานหรือยาที่มีสูตรตำรับไม่เหมาะสมในการออกฤทธิ์

                                         ของยาหรืออาจทำให้ไม่ปลอดภัย หรืออาจมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดของการ
                                         ได้รับยา

                                      5. ตำรับยาสูตรผสมที่มีเหตุผลในการผสมยาที่ไม่เหมาะสมเช่น ยาที่เข้ากันไม่ได้ทาง
                                         เภสัชกรรม ยาที่เข้ากันไม่ได้ทางเภสัชวิทยา ขนาดของตัวยาแต่ละชนิดในสูตรผสม

                                         ไม่สามารถปรับขนาดตัวยาทุกชนิดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ และตัวยาในสูตรผสม
                                         มี Margin of Safety แคบ

                                     อย่างไรก็ตามในประเทศไทยการขึ้นทะเบียนตำรับยาถูกวิจารณ์ว่าทำการ

                           ถอนทะเบียนตำรับยาได้ล่าช้ากว่าประเทศอื่น มีสาเหตุจากการที่พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
                           มิได้กำหนดให้มีกรอบเวลาของการทบทวนทะเบียนตำรับยาหรือมีเหตุผลและการต่อรองจากฝ่าย
                                                                                     5
                           ธุรกิจทำให้ประเทศไทยมีตำรับยาที่เก่าและล้าสมัยจำนวนมาก  นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจาก
                           ระบบการติดตามยาที่ไม่รัดกุมพอ ทำให้การถอดถอนทะเบียนตำรับยาต้องอาศัยข้อมูลจาก
                                                                                      6
                           ต่างประเทศมาพิจารณาแทนที่จะใช้ข้อมูลติดตามยาของฝ่ายไทยเอง  เป็นต้น

                                  3  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (16 มีนาคม 2544). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง
                           นโยบายการทบทวนทะเบียนตำรับยาและแนวปฏิบัติการทบทวนทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ [ออนไลน์]. สืบค้น

                           เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 จาก http://drug.fda.moph.go.th/zone_admin/files/drug_115.pdf
                                  4  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (16 มีนาคม 2544). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง
                           นโยบายการทบทวนทะเบียนตำรับยาและแนวปฏิบัติการทบทวนทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ [ออนไลน์]. สืบค้น

                           เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 จาก http://drug.fda.moph.go.th/zone_admin/files/drug_115.pdf
                                  5  อาทิ กรณีการยกเลิกทะเบียนตำรับยาแก้ปวดชนิดซองสูตรเอพีซี (APC) ที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนทำให้
                           ผู้บริโภคยาดังกล่าวเกิดอาการเสพติดยา
                                 6  นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. (กรกฎาคม 2554). ความปลอดภัยของยาใหม่: สิ่งที่คนไทยควรใส่ใจ สมดุลระหว่าง
                           ประโยชน์ที่ได้ กับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย. ยาวิพากษ์, 3(11), 3-7, p. 6.
                                                                                                             บทที่ 5
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190