Page 220 - kpiebook65064
P. 220
170 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
ประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์
พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจจัดซื้อ โดยศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาเป็นผู้ช่วยจัดทำ
บัญชีราคายาและวัสดุการแพทย์อ้างอิง (Reference price) จัดทำรายงานการตรวจสอบคุณภาพยา
(โดยประสานงานกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)การรายงานสถานการณ์ความก้าวหน้าในการ
ปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ แจ้งเวียนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทุก 3 เดือน ในรูปจดหมายข่าวและ
เสนอข้อมูลทางเวบไซต์ 21
5.4.4 กระบวนการการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล
1.
ภาพรวมการจัดซื้อยาของสถานพยาบาล
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ.
2543 ข้อ 5 ระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการบริหารยา และข้อ 10 อนุญาตให้หน่วย
ราชการหรือส่วนราชการใดที่ตั้งในพื้นที่เดียวกันสามารถจัดซื้อยาโดยวิธีการจัดซื้อร่วม พบว่า
ปัจจุบันมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับระบบยาและการจัดซื้อยาในสี่ระดับ คือ 1) ระบบยาและ
การจัดซื้อยาในระดับโรงพยาบาล 2) ระบบยาและการจัดซื้อยาในระดับจังหวัด 3) ระบบยาและ
การจัดซื้อยาในระดับเขต และ 4) ระบบยาและการจัดซื้อยาในระดับกรม
ถ้าพิจารณาบทบาทของคณะกรรมการผู้ทำหน้าที่ในระบบยาและการจัดซื้อยาแต่ละ
ระดับ โดยเอาสถานพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวตั้ง พบว่าแต่ละสถานพยาบาล
อาศัยการจัดซื้อในหลายระดับตามแผนภาพ 5.18 การบริหารและจัดซื้อยาของแต่ละสถานพยาบาล
ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและการตัดสินใจของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด
(Pharmacy and Therapeutic Committee - PCT) ของแต่ละสถานพยาบาลเป็นลำดับแรก
การพิจารณาบริหารและการจัดซื้อยาของคณะกรรมการฯ มักเป็นไปตามนโยบายของแต่ละ
สถานพยาบาลและแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ว่าการบริหารและการจัดซื้อยาจะอาศัย
ช่องทางการจัดซื้อแบบใดตามที่กำหนดในแผนภาพที่ 5.18
21 โปรดดูในสรุปผลการดำเนินงานด้านบริหารเวชภัณฑ์ ตามมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์
http://phdb.moph.go.th/hssd1/???b3B0aW9uPXJlcG9ydCZtb2R1bGU9cmVwb3J0JnVtZD1hcHAxJg==
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า