Page 298 - kpiebook65064
P. 298

248           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                   กับผู้ให้สัมภาษณ์มองว่า การทำงานของคณะกรรมการต้องพึ่งพาคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการ

                   ยาแต่งตั้งขึ้นและผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาตำรับยาที่ อย. เป็นผู้คัดเลือก และต้องพึ่งพา
                   การทำงานของ อย. เป็นฝ่ายเลขานุการและฝ่ายวิชาการของคณะกรรมการยา ผู้ทำหน้าที่

                   เสนอเรื่องให้คณะกรรมการยาพิจารณาเพราะ “การชงเรื่องเป็นหน้าที่ที่เลขาธิการต้องทำ เรื่องใหญ่
                   ตัดสินใจทำยังไง มันก็แล้วแต่ว่าใครส่งทำอะไรมา.....เลขาต้องเป็นแม่งาน ประธานไม่ใช่แม่งาน
                   ปี ๆ นึงประชุมสามหนก็ยังมี คณะกรรมการมันไม่ function อยู่แล้ว” 8

                         7.2.3 ความเสี่ยงอันเกิดจากการการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการ

                   ยาและผู้เชี่ยวชาญ (Conflict of Interest)


                              แม้ว่าในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแสดงความมี

                   ส่วนได้ส่วนเสีย แต่ในทางปฏิบัติทางสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการออก
                   คู่มือการแสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกำหนดให้คณะกรรมการยาและคณะอนุกรรมการ

                   ที่เกี่ยวข้อง กับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประเมินตำรับยาที่ได้รับการแต่งตั้งจาก อย. ต้องแสดงความไม่มี
                   ส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงให้มีการทวนสอบความไม่มีส่วนได้ส่วนเสียของคนเหล่านั้นให้เป็นปัจจุบัน

                              อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่าการบังคับให้มีการประกาศความมีส่วนได้
                   ส่วนเสียขึ้นกับบทบาทของประธานในที่ประชุมและฝ่ายเลขานุการ (อย.) ต้องมีความเข้มแข็ง

                   และเข้มงวดในเรื่องดังกล่าว การประชุมทุกครั้งต้องมีวาระแจ้งที่ประชุมเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสีย
                   หลังจากเปิดการประชุม เพื่อให้ประธานแจ้งผลการตรวจสอบการมีส่วนได้ส่วนเสียของกรรมการ

                   อนุกรรมการ ผู้ทำงาน หรือผู้เข้าร่วมประชุมรวมและเปิดโอกาสให้แจ้งความมีส่วนได้ส่วนเสียของ
                   แต่ละบุคคลเพิ่มเติมก่อนวาระเรื่องเพื่อพิจารณา ดังนั้น บทบาทของประธานในที่ประชุมที่ต้อง
                   พิจารณาถึงการมีส่วนได้ส่วนเสียและฝ่ายเลขานุการต้องตรวจสอบข้อมูลการมีส่วนได้ส่วนเสีย

                   จึงสำคัญ

                              ส่วนกรณีผู้เชี่ยวชาญกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญประกาศการมีส่วนได้ส่วนเสียของตนเอง
                   มีเกณฑ์การสรรหาผู้เชี่ยวชาญ และไม่มีการเปิดเผยรายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการอ่านทะเบียนตำรับยา

                   แต่ในทางปฏิบัติ เนื่องจากความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาหรือเรื่องนั้น ๆ มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนน้อย
                   ทำให้บางครั้งผู้เสนอคำร้องขึ้นทะเบียนตำรับยาสามารถ “คาดการณ์” ได้ว่าผู้เชี่ยวชาญคนใดที่จะมา
                   พิจารณาตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียน ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางท่านระมัดระวังตัวในเรื่องนี้โดย “บางท่าน

                   ก็ปฏิเสธเลยเพราะเคยทำวิจัยกับบริษัทนั้นอยู่ ผู้ทรงคุณวุฒิใน field มันแคบทำให้รู้กันทั่ว” 9
                   อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีผู้เสนอคำร้องขึ้นทะเบียนตำรับยาได้เข้ามาพยายามขอเพิ่มหรือเปลี่ยน

                   ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ “บริษัทรู้ว่าถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญคนนี้จะไม่ผ่านแน่”
                                                                                10



                          8  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ H, วันที่ 29พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
                          9  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ I, วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
                         10  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F, วันที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2556




                   บทที่ 7
                   สถาบันพระปกเกล้า
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303