Page 300 - kpiebook65064
P. 300

250           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านก็เห็นว่าความล่าช้าในบางกรณีเป็นเรื่องที่

                   จำเป็นเพราะเป็นไปเพื่อความเข้มงวด โดยมองว่า “เท่าที่ทราบใน ASEAN เราเองใช้เวลานานกว่า
                   ทั้งหมด แต่ว่าค่อนข้างจะเยอะ เพราะต้องเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาอ่าน paper มีขั้นตอนและ

                   กระบวนการต่างๆ คราวนี้ถ้าจะทำให้เร็วขึ้น ในทางปฏิบัติเราก็อยากเห็น แต่ทาง อย. ก็ต้องเข้ม
                   เรื่องการศึกษาของเขา......ยกตัวอย่างมีตัวยาหนึ่งที่เราคิดค้น เป็นตัวยารักษาโรคได้ จนบัดนี้ก็ยังไม่
                   ผ่าน เพราะเขาจะขอข้อมูลเพิ่ม ทำให้โอกาสที่จะพัฒนายาไปก็จะเสียไป เพราะฉะนั้นข้อมูลบางที่

                   จะมาซัพพอร์ตก็ไม่พอ ก็ต้องผลิต paper มากขึ้น” 14

                              -  อัตรากำลังและจำนวนทะเบียนตำรับยา

                                สำนักยา อย. คือหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านขึ้นทะเบียนตำรับยา ใน พ.ศ.
                   2555 มีจำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 126 คน และเป็นหน่วยงานที่มีอัตรากำลังมากที่สุดใน อย. โดยมี

                   สัดส่วนบุคลากรร้อยละ 19.94 ต่อจำนวนบุคลากรทั้งหมดของ อย. ส่วนกลุ่มงานที่รับผิดชอบการ
                   ขึ้นทะเบียนยา คือ กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด มีบุคลากรจำนวน 57 คน และถ้าพิจารณา
                   เฉพาะส่วนของงานยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์จากฝ่ายงานยาสามัญ งานยาใหม่ งานยาชีววัตถุ

                                                                                          15
                   มีเภสัชกรทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์เพียง 25 คนเท่านั้น  นอกจากนี้ อย.
                   มีบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยาซึ่งต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะทางน้อย แม้ว่าจะ

                   ให้ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานอื่นภายใน อย. มาช่วยพิจารณาก็ยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องพึ่งพา
                   ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลท่านหนึ่งเห็นว่า จำนวนอัตรากำลังที่ไม่มาก
                   ทำให้การทำงานในปัจจุบันเน้นงานด้านธุรการมากกว่างานด้านวิชาการ ด้วยภาระงานที่เป็นอยู่

                   ต้องการกำลังคนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 400 คนเพื่อรองรับภาระงาน และ อย. ต้องจ้างลูกจ้างเหมา
                   บริการเพื่อช่วยทำงานเป็นหลักร้อยคน ด้วยเหตุนี้ อย. ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

                   เข้ามาช่วยพิจารณาตำรับยา 16

                                นอกจากนี้ ด้านอัตรากำลังยังไม่มีการจำแนกอำนาจหน้าที่ตามความชำนาญเฉพาะ
                   ทางด้านวิชาการ เช่น นักเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Scientist) นักเคมี (Chemist)

                   นักเคมีอินทรีย์ (Organic Chemist) หรือเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ (Medical Officer) แต่
                   ของประเทศไทยมักเรียกเจ้าหน้าที่โดยรวมว่าเป็น “เภสัชกร” เพียงอย่างเดียวตามสายงานในระบบ
                   ราชการ (เภสัชกรปฏิบัติการ เภสัชกรชำนาญการ เภสัชกรชำนาญการพิเศษ เภสัชกรเชี่ยวชาญ)

                   ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำหน้าที่เฉพาะทางอย่างเต็มที่  17

                                เมื่อพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตำรับยาพบว่าการขึ้นทะเบียนทั้งเพื่อ
                   ผลิตและนำเข้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีจาก 788 ตำรับใน พ.ศ. 2546 เป็น 1,338 ตำรับใน พ.ศ.

                   2555 แต่ถ้าเมื่อพิจารณาเทียบกับจำนวนการขึ้นทะเบียนยากับจำนวนเภสัชกรที่ทำหน้าที่
                   ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ จำนวน 25 คน ใน พ.ศ. 2555 ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนยา


                         14  ผู้ให้สัมภาษณ์ N, วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557
                         15  โปรดดูในภาคผนวก ข.
                         16  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ I. J. และ K, วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
                         17  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ C, วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556


                   บทที่ 7
                   สถาบันพระปกเกล้า
   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305