Page 297 - kpiebook65064
P. 297

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   247
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                7.2.2 ความเสี่ยงจากการได้มาและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการยา


                                     ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 กำหนดการได้มาของคณะกรรมการยา ที่มาจาก

                           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งจำนวน 5-9 คน ทำให้มีความเสี่ยงจากการถูก
                           แทรกแซงผ่านทางการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้ง

                           โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีโอกาสเกิดการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและมีการ
                           เปลี่ยนบ่อย อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญที่ควรได้รับการแต่งตั้งกลับมีจำนวนไม่มากนัก

                                     ส่วนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ พบว่าแม้กระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็น

                           งานที่สำคัญและ อย. มีอำนาจทางกฎหมายชัดเจน แต่เนื่องจาก อย. เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้
                           กฎหมายจำนวน 8 ฉบับ และอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ จำนวน 4 ฉบับ กฎหมาย
                           แต่ละฉบับกำหนดให้ อย. มีคณะกรรมการตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ

                           ทั้งด้านกฎหมายและเทคนิค เช่น คณะกรรมการอาหาร คณะกรรมการยา คณะกรรมการ
                           เครื่องสำอาง คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด

                                                                                                        6
                           ให้โทษ คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ และคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย  รวมถึงมี
                           คณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่สามารถแต่งตั้งได้เพิ่มเติมอีก ด้วยเหตุนี้ อย. ต้องแบกรับ
                           การทำงานในฐานะฝ่ายเลขานุการและฝ่ายวิชาการให้คณะกรรมการชุดต่าง ๆ จำนวนมาก ทำให้

                           อย. อาจไม่สามารถทุ่มทรัพยากรและเวลาให้กับคณะกรรมการยาเพื่อพิจารณาทะเบียนตำรับยาได้
                           อย่างเต็มที่

                                     นอกจากนี้ การปฏิบัติงานคณะกรรมการยากลับมีการประชุมและมีกระบวนการ

                           ทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง และคณะกรรมการโดยตำแหน่งที่มาจากหัวหน้าส่วนราชการมักไม่ค่อยเข้า
                           ประชุม แต่เลือกที่จะมอบหมายข้าราชการในสังกัดเข้าประชุมแทน ทำให้คณะกรรมการยา

                           มีสัดส่วนจำนวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางไม่มากทำให้งานด้านวิชาการและเทคนิคด้านยา
                           ขึ้นอยู่กับการเสนอของ อย. ที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่า “ปัญหาของ
                           คณะกรรมการยาบ้านเรา เนื่องจากบ้านเราได้เข้ามาโดยการแต่งตั้งโดยตำแหน่งเยอะ

                           มีผู้เชี่ยวชาญไม่มาก ถ้าสำนักงานเลขาที่ชงเรื่องไม่แข็ง ไม่ base on ที่วิชาการ ก็จะมีปัญหา” 7

                                     ด้วยเหตุนี้ทำให้คณะกรรมการยามีบทบาทการแสดงความคิดเห็นหรือการตัดสินใจ
                           เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตำรับยาไม่มากนัก แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการและ

                           ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้พิจารณามากกว่า จากการตอบแบบสอบถามพบว่าในประเด็นการทำงานของ
                           คณะกรรมการยาผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบายและเจ้าหน้าที่ของ อย. ให้ค่าคะแนน
                           ในเรื่องนี้ค่อนข่างต่ำเมื่อเทียบกับประเด็นอื่น (4.97 และ 5.26 คะแนนตามลำดับ) โดยเมื่อ

                           พิจารณาในภาพรวมของกระบวนการการขึ้นทะเบียนตำรับยาพวกเขามีความคิดเห็นต่อ
                           คณะกรรมการ คณะทำงาน และผู้เชี่ยวชาญที่ค่าเฉลี่ย 5.82 หรือคิดเป็น 58% เท่านั้นสอดคล้อง



                                 6  โปรดดูในภาคผนวก ข.
                                 7  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F, วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



                                                                                                             บทที่ 7
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302