Page 329 - kpiebook65064
P. 329
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 279
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
7.4.1 ความเสี่ยงอันเกิดจากขาดสภาพบังคับในการควบคุมการส่งเสริม
การขาย
การส่งเสริมการขายเป็นกิจกรรมที่ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายยาทำเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้ยา
ตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของตน แม้โดยผิวเผินจะเป็นกิจกรรมที่มีระหว่างแพทย์/บุคลากรทางการ
แพทย์และผู้ผลิต แต่การส่งเสริมการขายก็มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อบุคลากรทางการแพทย์
และคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล (PTC) เนื่องจากการจัดซื้อยา
ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ใน PTC เหล่านั้น ที่ผ่านมามีการ
ส่งเสริมการขายที่ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายพยายามแข่งขันเสนอให้แก่สถานพยาบาล
มาตลอด
การจัดการต่อการส่งเสริมการขายในสถานพยาบาล ที่ผ่านมาภาครัฐยังไม่มีการออก
กฎหมายในการควบคุมการส่งเสริมการขายโดยพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ควบคุมเฉพาะ
การโฆษณายาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการออกเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขาย
ยาของประเทศไทยตามมติของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555 ขึ้นมาควบคุม
71
การส่งเสริมการขายบังคับใช้กับบริษัทยาและผู้แทนยากับสถานพยาบาล นอกจากนี้ มีแนว
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขหรือการจัดการภายในของแต่ละสถานพยาบาลที่จะออกเกณฑ์
ขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการส่งเสริมการขาย เช่น การห้ามมิให้ผู้แทนยาเข้ามาส่งเสริมการขาย
ในขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น แต่มาตรการการควบคุมของสถานพยาบาลแต่ละแห่งแตกต่างกันทั้ง
แนวนโยบายและความเข้มงวด ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่า สถานพยาบาลมีความเข้มงวด
แตกต่างกัน “ของเราโรงพยาบาลใหญ่เขามียาที่มีมาตรฐานเข้ามาอยู่แล้ว คือปัจจุบันมันไม่สามารถ
ที่จะเอาส่วนลดได้ แจกฟรีก็ไม่ได้ ก็จะมาในรูปแบบการไปประชุมกับต่างประเทศ แต่ผมไม่แน่ใจ
โรงพยาบาลต่างจังหวัด การที่เขาคัดเลือกว่าจะให้ใคร เขาใช้หลักเกณฑ์อะไร ก็อาจจะเลือกคนที่มี
power เยอะ ใช้แล้วคนอื่นใช้ตาม คือพวกนี้ก็ไม่ได้มีปัญหามาก เพราะเราก็ไม่ได้สัญญา
กับเขา ก็พยายามวางตัวให้อยู่บนความวิชาการ” 72
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีเกณฑ์จริยธรรมเพื่อควบคุมการส่งเสริมการขายที่บังคับใช้กัน
ภายในสมาคมวิชาชีพ สมาคมวิชาการ สมาคมธุรกิจ องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ เกณฑ์เหล่านี้
73
อาจมีสภาพบังคับที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร หรือเป็นเกณฑ์ที่สามารถปฏิบัติได้ตามความสมัครใจ
หรือความยินยอมของผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดความลักลั่นในการใช้ควบคุม เนื่องจากบางองค์กรมีการใช้
เกณฑ์การจริยธรรมที่เข้มงวดแต่บางองค์กรกลับมิได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวด เช่น บางบริษัท
ผู้ผลิตยาที่มีเกณฑ์จริยธรรมเข้มงวดสามารถบังคับใช้เกณฑ์จริยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงขั้น
“ยื่นซองขาว” ให้กับแผนกส่งเสริมการขายของบริษัทเมื่อเกิดปัญหาทั้งแผนกได้ แต่ในทางตรงข้าม
71 โปรดดูในบทที่ 5
72 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ L, วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
73 โปรดดูในบทที่ 5
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า