Page 353 - kpiebook65064
P. 353
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 303
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
2. การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาทั้งหมดให้ทันสมัย
และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
จากการศึกษาพบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอภิบาลยามีความเสี่ยงจาก
ความล้าสมัยของกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ที่มีอายุการใช้งานนานถึง 47 ปี
และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตำรับยาล้าสมัย เป็นต้น จากการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทุกคนเห็นตรงกันในเรื่องความล้าสมัยของพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 โดยในการ
ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาจะไม่สามารถ
ดำเนินการปรับปรุงได้อย่างสมบูรณ์ หากไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้เกิดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ไขและทบทวน
กฎหมายฉบับต่าง ๆ ควรเกิดจากการมีนโยบายแห่งชาติด้านยาที่กำหนดทิศทางระบบอภิบาลยา
ที่ชัดเจน เนื่องจากกฎหมายและระเบียบจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้าง บทบาท อำนาจหน้าที่ และ
แนวทางปฏิบัติขององค์การและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับระบบยาว่าควรไปในทิศทางใด โดย
คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ
(Rule of Law) ดังนี้
- ควรกำหนดกรอบเวลาการทบทวนกฎหมายและระเบียบที่ชัดเจน คือ กฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยาส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางเทคนิคและวิชาการ ดังนั้น
เพื่อให้กฎหมายและระเบียบมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง
จึงสมควรกำหนดให้กฎหมายหรือระเบียบแต่ละฉบับมีระยะเวลาของการใช้งาน
เมื่อถึงเวลาหนึ่งแล้วควรนำมาทบทวนเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม รวมถึง
กำหนดให้มีการตรวจสอบติดตามผลการดำเนินการตามกรอบระยะเวลาว่า
สามารถดำเนินการได้จริงมากน้อยเท่าใดอีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การกำหนดข้อความเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการทบทวนกฎหมายหรือระเบียบ
ภายในมาตราหรือข้อภายในกฎหมายหรือระเบียบแต่ละฉบับ หรือกำหนดให้ตั้ง
คณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับยาที่เป็นคณะทำงานถาวร
ภายในคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติหรือหน่วยงานที่เป็นผู้ออกระเบียบ
ที่เกี่ยวกับยา เป็นต้น
- ควรออกแบบระบบการมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย ระเบียบ และนโยบาย
คือ การกำหนดช่องทางและระดับการมีส่วนร่วมของการออกฎหมายและระเบียบ
ที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายและระเบียบนั้น
โดยอนุญาตให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
เข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากในหลายกรณีที่การออกกฎหมายและระเบียบเหล่านี้
ยังขาดการมีส่วนร่วมและขาดการเปิดเผยถึงขั้นตอน กระบวนการ และหลักคิด
สำคัญในการออกกฎหมายหรือระเบียบเหล่านั้น ทำให้กฎหมายและระเบียบที่ออก
มาบังคับใช้ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงหรือเกิดข้อโต้แย้งได้เสมอ เช่น
บทที่ 8
สถาบันพระปกเกล้า