Page 354 - kpiebook65064
P. 354

304           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                  การให้สิทธิพิเศษแก่องค์การเภสัชกรรมในการจัดซื้อยาของสถานพยาบาลภาครัฐ

                                  ที่ถูกโต้แย้งจากภาคเอกชน หรือ การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทาง
                                  ปัญญาด้านยาที่ได้รับข้อแย้งจากภาคประชาสังคม เป็นต้น ดังนั้นการออก

                                  กฎหมายหรือระเบียบแต่ละระดับจึงควรเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้าง
                                  โปร่งใส ตรวจสอบได้ และป้องกันการแทรกแซงหรือการให้น้ำหนักต่อข้อเรียกร้อง
                                  จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป

                                อย่างไรก็ตาม การออกแบบระบบและยกระดับการมีส่วนร่วมต้องคำนึงถึงการจัด

                   ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและภาครัฐในแต่ละกรณีด้วย แม้ภาคเอกชนจะมีส่วนได้ส่วนเสียจาก
                   การออกกฎหมายและนโยบายในหลายด้านก็จริง แต่การออกกฎหมายและระเบียบบางอย่าง

                   อาจสามารถให้เอกชนมีระดับการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น เช่น การกำหนดแนวนโยบายเพื่อพัฒนา
                   อุตสาหกรรมยา การกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) ฯลฯ ที่ภาคเอกชน
                   อาจสามารถเข้าร่วมเป็นคณะทำงานในการเสนอเรื่องและตัดสินใจได้ ในขณะที่บางประเด็นภาค

                   เอกชนไม่สมควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น การพิจารณาคัดเลือกยาจำเป็น
                   ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นต้น

                              3. การพัฒนาองค์กรและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องให้มีบทบาทชัดเจนและเป็น

                   มืออาชีพที่สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติด้านยา

                                เนื่องจากการศึกษาความเสี่ยงของระบบอภิบาลยาพบว่าหลายองค์กรยังมีข้อจำกัด
                   ในการพัฒนาการทำงานให้เป็นมืออาชีพเพราะมีข้อจำกัดในทางกฎหมายที่ไม่ให้อำนาจ มีภาระงาน

                   ที่มาก มีทรัพยากรทั้งงบประมาณและบุคลากรจำกัด และต้องทำหน้าที่ที่หลากหลายทั้งการบริหาร
                   งานประจำ การกำกับดูแล และการทำงานในเชิงวิชาการ เช่น ภาระงานที่มากของสำนักงาน
                   คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพราะต้องทำหน้าที่ทั้งการขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยา

                   เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพเกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
                   จำนวนมาก เป็นต้น การพัฒนาองค์กรและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์กับการกำหนด

                   ทิศทางและนโยบายแห่งชาติด้านยา กล่าวคือ นโยบายแห่งชาติด้านยาควรวางบทบาทหน้าที่ของ
                   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบอภิบาลยาให้ชัดเจน ในบทบาทหน้าที่การทำงานและความ
                   รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดทิศทางของ

                   องค์กรหรือคณะกรรมการว่าควรทำงานเน้นไปในลักษณะใดเช่น ด้านการบริหารงานทั่วไป
                   (Administration) หรือด้านการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย (Regulation) หรือเป็นหน่วยงาน

                   ด้านวิชาการ (Academics) เป็นต้น

                                การกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่เหล่านี้จะช่วยพัฒนาทิศทางขององค์กรหรือ
                   คณะกรรมการในด้านความเป็นมืออาชีพด้วยเช่นกัน เพราะทำให้พวกเขาพัฒนาศักยภาพของความ

                   เป็นมืออาชีพที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจขององค์กรเพื่อตอบโจทย์ของนโยบายแห่งชาติด้านยา
                   เช่น การวางบทบาทของหน่วยงานผู้ทำหน้าที่ด้านราคากลางยา ถ้าภาครัฐมีนโยบายในการควบคุม
                   ยาให้มีราคาถูกและสามารถเข้าถึงได้ง่าย อาจต้องให้หน่วยงานลักษณะนี้เข้ามาช่วยควบคุมหรือ




                   บทที่ 8
                   สถาบันพระปกเกล้า
   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359