Page 349 - kpiebook65064
P. 349
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 299
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
และอุตสาหกรรมด้านยาทั้งในและต่างประเทศรวมถึงข้อตกลงทางการค้าและสิทธิบัตร
ในระดับนานาชาติที่ประเด็นปัญหาด้านยามีความสำคัญและได้รับความสนใจจากองค์การระหว่าง
ประเทศต่าง ๆ ทำให้การตัดสินใจขององค์กรที่เกี่ยวข้องจึงกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับ
ประชาชน ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งในท้ายที่สุดผลการตัดสินใจใด ๆ ย่อมเกี่ยวข้องกับ
ชีวิตและสุขภาพของประชาชนทั้งสิ้น
ดังนั้น การตัดสินใจหรือดำเนินการใด ๆ ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบอภิบาลยา
ทุกขั้นตอนต้องปราศจากการแทรกแซงโดยมิชอบจากการเมืองและภาคเอกชนต่อกระบวนการ
ทำงานและการตัดสินใจต่อการพิจารณาเพื่อให้การพิจารณาเป็นไปตามหลักวิชาการทั้งด้าน
วิทยาศาสตร์สุขภาพ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้องค์กร
เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ (Professionalism) ซึ่งการทำงานแบบมืออาชีพจะช่วย
ป้องกันมิให้เกิดการตัดสินใจใด ๆ ที่ปราศจากหลักวิชาการที่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายการเมืองและ
เอกชน
2. รูปแบบการกำกับของระบบอภิบาลยาต้องมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน
ภายใต้หลักกฎหมาย หลักความโปร่งใส ความรับผิดรับชอบ ความมีประสิทธิภาพ การมี
ส่วนร่วม และสามารถตรวจสอบได้
เนื่องจากการดำเนินงานขององค์กรหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบอภิบาลยา
ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับยาและระบบสุขภาพทั้งในด้านเทคโนโลยีและปัญหา
ด้านสุขภาพของประชาชน ดังนั้น การทำงานขององค์กรอย่างเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
ต้องทำงานได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อปรับตัวและสามารถไล่ตามความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ถูก
กำหนดจากกฎเกณฑ์ที่ตายตัว
อย่างไรก็ดีภายใต้การทำงานแบบมืออาชีพที่มีความยืดหยุ่นต้องอยู่ภายใต้
หลักการธรรมาภิบาลที่ต้องเน้น 1) ความโปร่งใส (Transparency) ที่กระบวนการทำงานทุก
ขั้นตอนต้องมีความชัดเจนและไม่ปกปิด 2) ต้องมีความรับผิดรับชอบ (Accountability) ที่สามารถ
ชี้แจงหรือให้คำอธิบายต่อกระบวนการทำงานและการตัดสินใจได้ทั้งในเชิงกฎระเบียบ (Legal
Accountability) และเชิงวิชาชีพ (Professional Accountability) นอกจากนี้ ในทุกขั้นตอนของ
ระบบอภิบาลยาต้องสามารถระบุผู้รับผิดรับชอบได้แต่ละขั้นตอนของทุกกระบวนการอย่างชัดเจน
เพื่อให้ทราบถึงผู้รับผิดชอบของแต่ละขั้นตอนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ของแต่ละขั้นตอนหรือเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น 3) ต้องมีประสิทธิภาพ (Efficiency) โดยการ
ดำเนินงานต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับกฎระเบียบ เพื่อลดการใช้ดุลพินิจ
ส่วนบุคคลทั้งในด้านวิชาการและการตีความกฎระเบียบ จึงควรมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหรือ
ตัดสินใจที่มีความชัดเจน สามารถอธิบายได้โดยง่าย หรือมีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุน เพื่อลด
การใช้ดุลพินิจประกอบการตัดสินใจให้มากที่สุดและป้องกันการผูกขาดการใช้ดุลพินิจในการ
ตัดสินใจจากบุคคลหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และ 4) ต้องเน้นการมีส่วนร่วม (Participation)
ทั้งการมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์หรือนโยบายที่เหมาะสม และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
บทที่ 8
สถาบันพระปกเกล้า