Page 118 - kpi15428
P. 118

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              ภาครัฐ โดยที่ชุมชนเองจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร ดังที่

              Chusak ได้ให้ความสำคัญกับสถาบันหมู่บ้านเพราะเป็นกลไกทางสังคมที่
              พยุงให้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมยังคงอยู่ได้ และการบริหารจัดการทรัพยากรทาง
              ธรรมชาตินั้นจะไม่อาจเป็นจริงได้หากไม่มีการจัดการในเชิงสถาบัน นอกจากนี้
              ภาครัฐยังต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้

              ที่ดินหรือแก้ปัญหา หรือจัดตั้งองค์กรเครือข่ายจัดการลุ่มน้ำ (Chusak,
              1994; Uraivan et al., 1998; Uraivan, 1992 อ้างใน ประเทือง นรินทรางกูล
              ณ อยุธยา, 2543, น.96-98) ซึ่งการรวมกลุ่มของชุมชนนี้มีตัวอย่าง
              ประเภทกลุ่มชุมชนในการจัดการป่าไม้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มองค์กรที่มี

              การจัดการมากกว่า 10 ปี กับกลุ่มที่เพิ่งริเริ่มมีการจัดการ กลุ่มที่มีการจัดการ
              มากกว่า 10 ปี ถือเป็นกลุ่มที่เห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
              ด้วยการบริหารจัดการที่มีมายาวนานทำให้ชุมชนมีความไว้วางใจซึ่งกันและ
              กันและมีกฎของชุมชนจนก่อเกิดเป็นสถาบัน การบริหารจัดการของชุมชน

              กลุ่มนี้เป็นแบบพฤตินัยซึ่งหากภาครัฐไม่ยอมรับก็จะเป็นการทำลายคุณค่า
              ของความร่วมมือและทำให้เรื่องทรัพยากรเป็นเรื่องของปัจเจกชน นำมาซึ่ง
              การมุ่งหาประโยชน์แต่ส่วนตน สำหรับกลุ่มซึ่งเพิ่งริเริ่มมักเกิดขึ้นจากการถูก
              บีบคั้นโดยภาครัฐ หากมีการสนับสนุนที่ดีก็จะทำให้การจัดการทรัพยากร

              ของชุมชนดำเนินการต่อไปด้วยดี (สุธาวัลย์ เสถียรไทย, 2538 อ้างใน
              ชูศักดิ์ วิทยาภัค, 2543, น.155) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการยอมรับและเปิด
              โอกาสให้ชุมชนได้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร
              ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ภาครัฐยังต้อง

              มีนโยบายสนับสนุนสิทธิชุมชนที่สอดรับกับศักยภาพที่แตกต่างกันของชุมชน
              อีกด้วย

                    อย่างไรก็ดี สถานการณ์สิทธิในช่วงหลังค่อนข้างดีขึ้น ดังที่ประภาส
              ปิ่นตบแต่ง (2549, น.13-14) กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของชุมชนในการ
              จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยเกิดขึ้นอย่างยาวนาน

              เป็นเวลากว่า 30 ปี จนกระทั่งตกผลึกและเกิดการผลักดันอย่างชัดเจน


              110
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123