Page 22 - kpi15428
P. 22

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม





              ความเป็นมาของแนวคิดชุมชน

              และความสำคัญของสิทธิชุมชน




              v แนวคิดว่าด้วยชุมชนในสังคมไทย

                    ชุมชนไทยในอดีตเป็นชุมชนแบบเชื้อชาติ เพราะมีการเรียกชื่อชุมชน
              ตามเชื้อชาติของชุมชนนั้น เช่น ชาวไทยใหญ่ ชนสิบสองจุไท สิบสองปันนา
              รัฐฉาน ชาวไทยดำ ต่อมาภายหลังจึงมีการแบ่งชุมชนเป็นเขตต่างๆ ซึ่งถือ
              เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเมืองการปกครองในแต่ละสมัย

                    หากเราศึกษาความเป็นชุมชนตั้งแต่สมัยโบราณ ชุมชนเป็นแบบ

              ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันในเชิงเศรษฐกิจ เพราะชุมชนจะมีการแบ่งสันปันส่วนกัน
              ตามสมาชิกในครอบครัว โดยยึดหลักความจำเป็น ระบบนี้จึงทำให้ชุมชน
              แตกแยกกันน้อย มีความเป็นอยู่ที่แน่นแฟ้น มั่นคง การบริหารหมู่บ้านก็ใช้
              หลักอาวุโส นอกจากนี้ ชุมชนโบราณยังมีสถานที่หรือพิธีกรรมที่เป็น

              ศูนย์กลางของหมู่บ้าน เช่น พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน หอผีเจ้าบ้าน ศาลปู่ตา
              และการเข้ามาเป็นชุมชนเดียวกันของชาวบ้านไม่ได้ขึ้นอยู่กับลัทธิทางศาสนา
              หรือระบบวรรณะดังเช่นในประเทศจีนหรืออินเดีย ส่วนนักวิชาการบางท่าน
              อย่าง รณี เลิศเลื่อมใส (2554 อ้างในอานันท์ กาญจนพันธ์) กล่าวว่า

              รัฐไทยแต่เดิมเป็นแบบกระจายอำนาจ เพราะแต่ละหมู่บ้านอยู่อย่าง
              กระจัดกระจายและมีความเป็นอิสระต่อกัน คือ มีอำนาจปกครองตนเอง
              อย่างเต็มที่ มีระบบจัดการน้ำ มีพิธีกรรมเป็นของตนเอง เพราะขณะนั้น
              ประชากรไทยยังมีความหนาแน่นไม่มาก และทรัพยากรก็มีอยู่อย่างเพียงพอ

              ที่เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ ทำให้ชุมชนอยู่ได้แบบอิสระไม่ต้องพึ่งพา ไม่มี
              ความขัดแย้งระหว่างชุมชนและคนในชุมชนด้วยกันเอง (อานันท์ กาญจนพันธ์,
              2543) ต่อมาในช่วงที่มีระบบศักดินาเข้ามา เป็นช่วงการแบ่งที่ดินของชุมชน




              1
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27