Page 24 - kpi15428
P. 24

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              อย่างไรก็ตาม ชุมชนในช่วงนี้นับว่ามีบทบาทมากเช่นกัน เช่น วีรกรรม

              ชาวบ้านบางระจันในจังหวัดสิงห์บุรี และในช่วงปลายระยะนี้ศักดินาอ่อนตัว
              ลงโดยเห็นได้จากมีความใกล้ชิดกันระหว่างพระเจ้าตากและประชาชน
              (ศุภร บุนนาค, 2464-2517 อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.104-107)

                    2. ช่วงลัทธิชาตินิยม (พ.ศ.2475 - 2500) ช่วงนี้ กล่าวได้ว่า
              เป็นช่วงหลังการปฏิวัติ ซึ่งคณะราษฎรอาจต้องการปลุกระดมความเป็นชาติ

              เพื่อนำมาแทนที่ความเป็นกษัตริย์ ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงสงคราม
              รัฐบาลในช่วงนั้นจึงมุ่งมั่นในแนวคิดชาตินิยมเป็นอย่างมาก แนวคิดชุมชน
              ในช่วงนี้จึงไม่ได้รับความสนใจและถูกลดความสำคัญ อย่างไรก็ตามแนวคิด
              ชาตินิยมถือเป็นแนวคิดที่เลื่อนลอยเพราะไม่ได้ฝังรากลึกไปถึงระดับชุมชน

              ที่เป็นรากฐานสังคมไทย (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.107-111)
                    3. ช่วงก่อร่างสร้างแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน (พ.ศ.2500 - 2540)

              มีบางช่วงในระหว่างนี้ที่แนวคิดทุนนิยมแผ่ขยายเข้ามา ดูได้จากการมี
              แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ.2504 และ
              มีการต่อสู้ทางอุดมการณ์กับพรรคคอมมิวนิสต์ที่แผ่ขยายไปยังชุมชนชนบท

              จึงยังขาดพัฒนาการทางแนวคิดชุมชน จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2520
              ได้มีนักพัฒนาบางกลุ่มเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน และรู้สึกได้ถึงความสำคัญ
              ของชุมชน และพบว่าวัฒนธรรมชุมชนของไทยเป็นสิ่งที่ดีงามเพราะเป็น
              วัฒนธรรมที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จึงต่างจากทุนนิยมที่มักมีการเอารัด
              เอาเปรียบกัน ในช่วงนี้แนวคิดทุนนิยมมีอิทธิพลต่อชุมชน ทำให้การพัฒนา

              ชุมชนมุ่งเน้นเศรษฐกิจมากเกินไปจนเกิดปัญหาทรัพยากร ชุมชนมีการ
              บุกรุกพื้นที่ทรัพยากรทางธรรมชาติ ทรัพยากรส่วนใหญ่ตกเป็นของคน
              บางกลุ่ม จากการเบียดเบียนทรัพยากรโดยเจ้าของทุนขนาดใหญ่ ทำให้ชาวบ้าน

              ต่างพากันรุกล้ำที่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรมากขึ้นเพื่อดำรงชีพ และประมาณ
              พ.ศ.2520 คนหนุ่มสาวในชนบทพากันย้ายเข้าเมืองเพื่อขายแรงงาน
              อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายของยุคนี้ แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนนี้ได้ถูกพัฒนาเป็น




              1
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29