Page 25 - kpi15428
P. 25
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนและมีนักวิชาการสาขาต่างๆสนับสนุนแนวคิดนี้
และถูกพัฒนาจนเป็นแนวคิดเศรษฐกิจสังคม และได้ชี้ให้เห็นว่ารากฐาน
สังคมไทยเป็นแบบชุมชนไม่ใช่ทุนนิยม หากจะมีการพัฒนาใดๆ ควรพัฒนา
อยู่บนฐานของชุมชน จึงจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม
(ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.111-114)
4. ช่วงการต่อสู้ระหว่างแนวคิดทุนนิยมและแนวคิดชุมชน
(พ.ศ.2540-ปัจจุบัน) เป็นช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จึงทำให้
นักวิชาการตลอดจนภาคธุรกิจหันกลับมาให้ความสำคัญกับชุมชนมากขึ้น
เรียกว่าเป็นแนวคิดแบบเศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิดนี้มีปรากฏใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) และ
แผนฯฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ที่จะส่งเสริมสถาบันครอบครัวและ
ชุมชน แต่แนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนนี้ยังคงเป็นแนวคิด
กระแสรองอยู่ (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.114-116)
อาจกล่าวได้ว่า ชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่สังคมไทยคุ้นเคยมาช้านานทำให้
ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนักในเชิงแนวคิด จนกระทั่งสภาพสังคมและ
เศรษฐกิจพัฒนาไปมากขึ้น ทำให้ความเป็นชุมชนเดิมของไทยกำลัง
เลือนหายไป ในขณะเดียวกันนี้ กลุ่มทางสังคมและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ดูจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่รับรู้ได้ถึงผลเสียของความเป็นชุมชนที่หายไป และได้มี
การพยายามทำให้สังคมไทยกลับมาให้ความสำคัญผ่านแนวคิดว่าด้วยชุมชน
ถึงอย่างนั้น ชุมชนยังคงไม่ใช่แนวคิดกระแสหลักในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี
ผู้เขียนมองว่า ชุมชนมีความสำคัญอยู่ในตัวของมันเองในฐานะที่เป็นหน่วย
หนึ่งทางสังคม เพียงแต่ชุมชนยังไม่มีบทบาทเด่นชัดเพราะไม่ได้มีการรับรอง
ความมีอยู่ของชุมชนตามกฎหมายอย่างชัดเจนดังเช่นปัจเจกชน หรือบริษัท
ห้างร้านต่างๆ ดังนั้น ภาครัฐควรหยิบยกประเด็นเรื่องสิทธิและหน้าที่ของ
ชุมชนมาศึกษาและอภิปรายกันในหลายแง่มุม เพื่อให้ชุมชนเป็นประเด็น
หลักหนึ่งของสังคมขึ้นมา
17