Page 27 - kpi15428
P. 27
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิทธิตามกฎหมายโดยผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมไม่อาจครอบคลุมไปได้
ทุกพื้นที่ ดังนั้น สิทธิตามสภาพจึงเกิดขึ้นในชุมชนมาช้านาน จนเหมือน
เป็นการยอมรับสิทธิของชุมชนตามสภาพ แต่รัฐก็มีกลไกบางประการเพื่อ
รับประโยชน์จากชุมชน เช่น การเก็บภาษี หรือส่วย เป็นต้น ความเป็นมา
เหล่านี้สะท้อนให้เห็นได้ว่ารัฐส่วนกลางแต่เดิมไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอ
ที่จะปกครองชุมชนได้อย่างทั่วถึง จนเมื่อรัฐมีอำนาจมากขึ้น ทำให้สิทธิตาม
สภาพถูกลดความสำคัญลงเพราะรัฐส่วนกลางมีแนวโน้มควบคุมชุมชนในทุกที่
โดยเห็นได้ในรูปแบบขององค์กรปกครองท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ประเทศไทย
ได้เข้าร่วมภาคยานุวัติต่อกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ค.ศ.1996 และมีผลบังคับกับประเทศไทยเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ.2540
จากนั้นได้เข้าร่วมภาคยานุวัติกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2542 มีผลบังคับกับประเทศไทยเมื่อ 5 ธันวาคม
พ.ศ.2542 จึงอาจกล่าวได้ว่า กระแสแนวคิดสิทธิชุมชนในระดับสากลทำให้
เกิดการตื่นตัวในเรื่องสิทธิชุมชนในประเทศไทย จนทำให้เกิดข้อบัญญัติใน
รัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อรับรองการมีอยู่ของชุมชนตามกฎหมาย (Legal
entity) ทำให้ชุมชนในฐานะที่เกิดจากบุคคลมารวมตัวกันนี้มีสิทธิตาม
รัฐธรรมนูญ (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550, น.63-66; 121-122)
ชุมชนมีคุณค่าในฐานะที่เป็นหน่วยทางสังคมซึ่งประกอบด้วยคน
หลายๆคน และคนหรือปัจเจกชนเหล่านี้ก็มาอยู่รวมเป็นชุมชน ดังนั้น สิทธิ
ชุมชนจึงเป็นสิทธิของส่วนรวม ซึ่งตามทฤษฎีเสรีนิยม มักให้ความสำคัญกับ
สิทธิของปัจเจกชนทำให้บุคคลมีสิทธิและความเป็นบุคคล แต่สิทธิบุคคลจะ
ไม่มีความหมายหากไม่มีการยอมรับสิทธิชุมชนไปด้วย เพราะบุคคลเกิดขึ้น
ท่ามกลางกลุ่มหรือชุมชน และมีปฏิสัมพันธ์กันในชุมชน หากแต่ละคน
มีสิทธิแต่ไม่มีความเป็นส่วนรวมกับชุมชน สิทธินั้นก็ไม่มีความหมายเพราะ
ไม่ได้ทำให้เกิดผลอะไรขึ้นมา ขณะที่เมื่อแต่ละคนมีสิทธิและมารวมตัวกันแล้ว
สิทธินั้นจะมีพลังทำให้ชุมชนมีสิทธิและโดยส่วนใหญ่ชุมชนมักใช้สิทธิเพื่อการ
อนุรักษ์และดำรงอยู่
19