Page 26 - kpi15428
P. 26

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              v ความสำคัญของสิทธิชุมชน


                                                                            2
                    แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิชุมชน พัฒนาการมาจากสิทธิมนุษยชน
              เนื่องจากมีฐานคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นพื้นฐาน เพียงแต่สิทธิชุมชน
              มีลักษณะเป็นสิทธิรวมหมู่ (Collective right) ไม่ใช่สิทธิของปัจเจก หรือ
              ใครคนใดคนหนึ่ง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1986 ได้มีการประกาศปฏิญญาว่า

              ด้วยสิทธิในการพัฒนาโดยองค์การสหประชาชาติ ที่ทำให้สิทธิรวมหมู่
              แพร่ขยายมากขึ้น จนกระทั่งหลังยุคสงครามเย็น ในทศวรรษที่ 1990
              ทั่วโลกลดความเกรงกลัวต่อแนวคิดสังคมนิยม และทำให้เกิดการเรียกร้อง
              สิทธิมนุษยชนในลักษณะที่เป็นสิทธิรวมหมู่หรือสิทธิชุมชนควบคู่ไปกับสิทธิ

              ของปัจเจกชน และยังเกิดแนวโน้มการเรียกร้องไปถึงชุมชนในลักษณะอื่นๆ
              เช่น ชุมชนดั้งเดิม ชุมชนพื้นเมือง เป็นต้น โดยมีตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้
              เห็นกติการะหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การรับรองสิทธิของชุมชนที่ได้รับการ
              ยอมรับทั่วโลก คือ การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

              และการพัฒนาที่กรุงริโอเดอจาเนโรในปี ค.ศ.1992 ที่ได้มีการรับรองสถานะ
              ของชนพื้นเมือง จากนั้น ในปี ค.ศ.1993 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศ
              ให้เป็นปีแห่งชนพื้นเมืองโลก (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550, น.63-66; คณะ
              บุคคล โครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.33)

                    สำหรับประเทศไทยแต่เดิมนั้น ชุมชนมีสิทธิพื้นฐานในการบริหาร

              จัดการภายในชุมชน สิทธิรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งเรียกว่าสิทธิ
              ตามสภาพ (De facto right) แต่ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย (De jure right)
              ซึ่งผู้ใช้อำนาจตามสิทธิทางกฎหมายคือผู้นำหรือกษัตริย์ในสมัยก่อน การใช้

              
     2  Karel Vasak ผู้อำนวยการสำนักสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ องค์การยูเนสโก
              ได้เสนอแนวคิดเมื่อปี ค.ศ.1977เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ว่ามี 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นเรื่องการ
              เรียกร้องสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ช่วงที่สองเป็นช่วงที่มีอิทธิพลของสังคมนิยมที่เรียกร้อง
              ให้รัฐดำเนินนโยบายทั้งปวงแก่ปัจเจกชน ช่วงที่สาม เป็นยุคของความเป็นปึกแผ่นที่ทุกฝ่าย
              ร่วมมือกันคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในทุกระดับทั้งระดับโลก ระดับชาติ และระดับชุมชน
              ท้องถิ่น (อ้างใน กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550, น.62-63)



              18
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31