Page 23 - kpi15428
P. 23
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แบบเดิมถูกยกเลิกไป แต่ชุมชนยังคงใช้แรงงานร่วมกันในการเกี่ยวข้าว
จับปลา ล่าสัตว์ และแบ่งปันผลผลิต โดยรัฐมีการเก็บส่วยแต่ไม่ได้เข้าไป
บริหารจัดการใดๆที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนมากนัก จนกระทั่งช่วง
ระบบทุนนิยมไปแล้ว ชุมชนในสังคมไทยก็ยังมีอยู่ (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา,
2548, น.93-103)
สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนนั้นเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญต่อสังคม
และวัฒนธรรมไทย แต่กลับไม่ได้รับความสำคัญในสังคมไทย โดยแนวคิด
ชุมชนเพิ่งเริ่มก่อตัวมาประมาณ 25 ปีแล้ว และประมาณ 7 ปีที่ผ่านมา
แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนก็คู่ขนานไปกับแนวคิดทุนนิยมมาโดยตลอด เพราะว่า
สังคมไทยถูกครอบงำด้วยระบบศักดินามายาวนาน แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนนี้
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา แบ่งไว้เป็น 4 ช่วง ดังต่อไปนี้
1. ช่วงยุคพระศรีอาริย์ (อดีต- พ.ศ.2475) เป็นแนวคิดในช่วงสมัย
ศักดินา ที่มีการบังคับเอาส่วยและเกณฑ์แรงงานชาวบ้าน ทำให้ชุมชน
แต่เดิมซึ่งมีชีวิตแบบอิสระและปฏิเสธระบบศักดินา โดยมีการนำของผู้ที่
เรียกตัวเองว่า ผู้มีบุญ ซึ่งถือเป็นขบวนการที่ลุกฮือขึ้นปะทะกับรัฐและ
ถูกปราบทำลาย ดังเช่น ขบถผู้มีบุญอิสาน (พ.ศ.2445-2446) ขณะที่ใน
ช่วง พ.ศ.2242-2467 เริ่มมีการชุมนุมของประชาชนโดยสันติและถูก
ปราบปรามอย่างรุนแรงในที่สุด หรือกรณี ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นขบวนการ
ชุมชนในภาคเหนือ (พ.ศ.2421-2481) แต่แค่เพียงถูกจับและสอบสวน
เท่านั้น รวมทั้งกรณีอื่นๆที่เป็นการรวมตัวของชาวบ้านแต่เป็นไป
อย่างหลวมๆ เช่น ชุมชนในหลายหมู่บ้านรอบวัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ
จังหวัดสงขลา หรือชุมชนรอบวัดเขาอ้อ บ้านปากคลอง อำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง เป็นต้น (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.104-105) ที่มาของ
แนวคิดนี้ ได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ที่ว่า สังคมประกอบด้วย
ส่วนต่างๆ โดยส่วนสำคัญที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ ซึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาด
ส่วนชุมชนและประชาชนเป็นข้าของแผ่นดินซึ่งซ่อนอยู่ในระบบศักดินา
1