Page 107 - kpi15476
P. 107
10 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
เนื่องจากบทความนี้ต้องการที่จะศึกษา “ธรรมราชา” ในกรอบของพระพุทธศาสนาตามที่
ปรากฏในคัมภีร์ ผู้เขียนจะมุ่งเน้นศึกษา และตอบคำถามเหล่านี้ โดยใช้คัมภีร์พระไตรปิฎก และ
อรรถกถาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งการเข้าใจความหมายตามคัมภีร์จะนำไปสู่การศึกษา
วิเคราะห์ ตีความ และประยุกต์ใช้กับงานทางวิชาการ และการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสังคมไทยใน
บริบทต่างๆ ต่อไป
ธรรมราชา: อะไร และอย่างไร
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ธรรมราชา” ได้ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงประเด็นนี้ในจักกวัตติสูตร
และธรรมราชาสูตร และในมหาปทานสูตรซึ่งทั้ง 3 สูตรนี้ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“พระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า “ทัฬหเนมิ ผู้ทรงธรรม ทรงเป็นพระราชาโดยธรรม
ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีราชอาณาจักร
มั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ ได้แก้ (1) จักรแก้ว (2) ช้างแก้ว (3) ม้าแก้ว
(4) มณีแก้ว (5) นางแก้ว (6) คหบดีแก้ว (7) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า
1,000 องค์ ซึ่งล้วนแล้วแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีศัตรูได้
พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาคร
เป็นขอบเขต”
ในขณะที่หลักฐานทางคัมภีร์อีกแห่งปรากฏคำว่า “ธรรมราชา” ในธัมมราชาสูตร
ดังประโยคที่ว่า
“พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น
สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่
1
ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองชนภายในโดยธรรม...”
นอกจากนี้ ในมหาปทานสูตรได้กล่าวถึง “ธรรมราชา” ว่า
“ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม
เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง...
มีพระราชโอรสมากกว่า 1,000 องค์ ซึ่งล้วนแล้วแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา
ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต” 2
สิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งหลักฐานอย่างน้อย 3 แห่งนี้ สามารถอธิบายได้ถึงคำว่า “ธรรมราชา”
เอกสารประกอบการอภิปราย ที่แสดงถึงคุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น “พระเจ้าจักรพรรดิ” ที่จะต้อง
3
ได้รับการเรียกขานว่า “ทรงธรรม” และ “พระราชาโดยธรรม”
อัง.ปัญจก. (ไทย) 22/133/214.
1
2
ที.ม. (บาลี) 10/33/14.
3
อัง.ปัญจก. (ไทย) 22/133/214. องฺ.ปญฺจก. (บาลี) 22/133/140.