Page 108 - kpi15476
P. 108
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 10
คำว่า “ทรงธรรม” (ธรรมิกะ) ในบางบริบทหมายถึงการเป็นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์แก่
บุคคล ดังคำที่พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า “ผู้ชื่อว่า ทรงธรรม (ธรรมิกะ) เพราะกระทำความดี
อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ในขณะที่คำว่า “ธรรมราชา” นั้น ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ
4
“ธรรมะ กับ ราชา” คำว่า “ราชา” ถอดเป็นรูปวิเคราะห์ตามบาลีว่า “จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ
ชนํ รญฺเชตีติ ราชา” แปลว่า “บุคคลใดยังประชาชนให้ยินดีด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ เหตุนั้น
บุคคลนั้น ชื่อว่า ราชา” ซึ่งสอดรับกับหลักฐานบางแห่งที่อธิบายตามนัยที่คล้ายคลึงกันว่า “ราชา”
หมายถึง “ผู้ที่ทำให้ชาวโลกพอใจหรือยินดีด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ” ดังรูปวิเคราะห์ว่า
“สงฺคหวตฺถูหิ จ โลกํ รญฺชนฺโต ราชา” แปลว่า “บุคคลผู้ที่ทำให้ชาวโลกพอใจด้วยสังคหวัตถุ
4 อย่าง ชื่อว่า ราชา” 5
ในบริบทเดียวกันนี้ เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ธรรมราชา” คัมภีร์ได้แสดงรูปวิเคราะห์ว่า
“ธมฺเมว ทสวิเธน จกฺกวตฺเตน ราชา ชาโตติ ธมฺมราชา” แปลว่า “บุคคลใด เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้
6
ยินดีโดยธรรม คือ จักรวัตติวัตร 10 ประการ เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ธรรมราชา 7
ถึงกระนั้น คำว่า “ธรรมราชา” มิได้มีนัยที่สะท้อนแง่มุมของพระราชา หรือพระเจ้าจักรพรรดิ
แต่เพียงประการเดียวเท่านั้น หากแต่สะท้อนนัยเกี่ยวกับพระนามของพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน
ดังหลักฐานในคัมภีร์ที่ว่า
“พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้
ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม เชิดชูธรรม ยกย่อง
ธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองภิกษุ... ภิกษุณี... อุบาสก...
อุบาสิกาทั้งหลายโดยธรรมว่า กายกรรม... วจีกรรม... มโนกรรม... อาชีพ... บ้านและ
นิคม... เช่นนี้ควรอยู่อาศัย เช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย”
8
4 ที.สี.อ.(มหามกุฏ) 1/-/368-370, ที.ม.อ.(มจร) 1/258/224-225.
5 ที.สี.อ.(มหามกุฏ) 1/-/368-370, ที.ม.อ.(มจร) 1/258/224-225.
6 จักรวรรดิวัตร หมายถึง วัตรที่พึงปฏิบัติ 10 ประการ คือ (1) สงเคราะห์แก่ชนภายใน นับตั้งแต่ในหมู่มเหสี
โอรส ธิดา จนถึงปฏิบัติราชการในพระองค์ทั้งหมด (คือ คนในปกครองส่วนตัว ตั้งแต่บุตรธิดาเป็นต้นไป และกองทัพ
คือ เหล่าเสนาข้าทหาร และข้าราชการฝ่ายทหาร (2) สังเคราะห์แก่กษัตริย์ทั้งหลายผู้อยู่ในพระบรมเดชานุภาพ
เจ้าเมืองขึ้น ปัจจุบันสงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักบริหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย ข้าราชการฝ่ายปกครอง
(3) สงเคราะห์แก่ผู้ตามเสด็จ คือ ราชบริพารทั้งหลาย ปัจจุบันควรสงเคราะห์ฝ่ายพลเรือนเข้าทั้งหมด
(4) สงเคราะห์แก่เจ้าพิธี เจ้าตำรา พ่อค้า เจ้าไร่เจ้านา คือ ครูบาอาจารย์ นักวิชาการ หมอ พ่อค้า ผู้ประกอบอาชีพ
ต่างๆ และเกษตรกร ด้วยช่วยจัดหาทุนและอุปกรณ์เป็นต้น (5) สงเคราะห์แก่ชาวนิคมชนบท คือ ราษฎรทั้งปวง
ทุกท้องถิ่นตลอดถึงชายแดนทั่วไปไม่ทอดทิ้ง(6) สงเคราะห์แก่พระองค์ และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงคุณธรรม
(7) สงเคราะห์แก่เนื้อ และนก คือสัตว์ที่ควรสงวนทั้งหลาย (8) สงเคราะห์ห้ามปรามบุคคลในแคว้นมิให้กระทำผิด
คิดคด ทุจริต คอรัปชั่น จนเกิดความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง (9) สงเคราะห์แก่คนชนผู้ยากไร้ มิให้คนขัดสนยากไร้
ในแว่นแคว้น (10) ปรึกษาสอบถามกับสมณพราหมณ์ หรือนักวิชาการผู้ทรงคุณธรรม ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ
ไม่ลุ่มหลงมัวเมา เพื่อให้รู้ชัดการดีชั่ว ควรประกอบหรือไม่ประกอบ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขหรือไม่ แล้วประพฤติ
ปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง (พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้บางแห่งมี 12 ประการ) เอกสารประกอบการอภิปราย
7 องฺ.ทุก.อ. (มจร) 2/14/87.
8 อัง.ปัญจก. (ไทย) 22/133/215.