Page 109 - kpi15476
P. 109

10      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       คำว่า “ธรรมราชา” ในบริบทนี้จึงหมายถึงพระนามของพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน ดังรูป
                  วิเคราะห์ตามบาลีว่า “นวหิ โลกุตฺตรธมฺเมหิ มหาชนํ รญฺเชตีติ ธมฺมราชา” แปลว่า “พระตถาคต

                                                                                     10
                                                                            9
                  ชื่อว่า ธรรมราชา เพราะยังมหาชนให้ยินดีด้วยโลกุตรธรรม 9  นั่นแล”  สิ่งที่น่าสนใจคือคำว่า
                  “ธรรมราชา” ในประเด็นนี้เป็นการสะท้อนภาวะของการกระทำความดีอันเป็นประโยชน์เกื้อกูล
                  แก่ตน 11


                       ในอภิธานวรรณนาได้อธิบายถึงประเด็นนี้เดียวกันนี้เอาไว้น่าสนใจเช่นกันว่า “ผู้ทรงเป็น

                  พระธรรมราชา เพราะทรงยินดีซึ่งธรรม ทรงเป็นพระราชาของโลกพร้อมทั้งเทวโลกโดยธรรม
                  ทรงยังปวงชนให้ยินดีด้วยธรรม ทรงเป็นพระราชาผู้รักษาความเป็นธรรม ผู้เที่ยงธรรม
                  จึงพระนามว่า ธรรมราชา ดังตัวอย่างว่า “” ซึ่งแปลว่า “พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครประเสริฐว่า

                  ตรัสว่า เสละ เราเป็นพระธรรมราชา”  12


                       จากความหมายดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น คำว่า “ธรรมราชา” มีนัยที่สะท้อนถึง
                  ความหมายที่สำคัญอย่างน้อยใน 2 ประเด็น กล่าวคือ


                       (1) หมายถึง พระราชา หรือผู้ปกครองที่ทรงธรรม ชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง
                           ใช้ศัสตรา  และทำให้ชาวโลก มหาชน หรือประชาชนพึงพอใจ หรือยินดีโดยธรรม
                                     13
                           ซึ่งความยินดีนั้นอาจจะมาจากการที่พระราชาหรือผู้ปกครองสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ
                           4 ประการ และสงเคราะห์ตามหลักจักรวรรดิวัตร 10 ประการ ซึ่งความหมายใน
                           ลักษณะนี้เป็นการทำหน้าที่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์สุขให้แก่บุคคลอื่นๆ


                       (2) หมายถึงพระนามของพระพุทธเจ้า ตัวแปรสำคัญที่ทำให้พระองค์พยายามจะอธิบายว่า

                           พระองค์ทรงเป็น “ธรรมราชา” เพราะพระองค์ได้ทรงทำให้มหาชนเกิดความยินดี และ
                           พอใจโดยโลกุตรธรรม 9 ประการ ซึ่งเป็นคุณธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ซึ่งสภาวะ

                           เช่นนี้ แม้บุคคลที่ได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิย่อมมีสถานะที่เป็นรอง เพราะพระเจ้า
                           จักรพรรดิถือว่าเป็นสมบัติภายนอก แต่ความเป็นพระพุทธเจ้านั้นถือได้ว่าเป็นสมบัติ
                           ภายในที่ประเสริฐกว่า


                       จากความหมายทั้ง 2 ประการนี้ ความเป็นธรรมราชาของพระราชา หรือพระเจ้าจักรพรรดิ
                  สามารถเลือนหายไปได้ตามตัวแปร แต่ความเป็นธรรมราชาของพระพุทธเจ้านั้นไม่มีตัวแปรใดที่จะ

                  เข้ามากำหนด กำกับ และควบคุมให้เลือนหายไปได้ ดังจะเห็นได้จากการเลือนหายไปของตัวแปร
                  ภายนอกที่พระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า “ทัฬหเนมิ” ประสบ จนทำให้พระองค์ตัดสินใจสละ

                  ราชบัลลังก์ และบำเพ็ญตนเป็นฤๅษีเพื่อแสวงหาความจริงสูงสุดในบั้นปลายของชีวิต


        เอกสารประกอบการอภิปราย      10 11   องฺ.ทุก.อ. (มจร) 2/14/88.

                        โลกุตรธรรม 9 ประการ ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 และนิพพาน 1 (องฺ.ติก.อ. 2/14/88).
                     9


                        ที.สี.อ.(มหามกุฏ) 1/-/368-370, ที.ม.อ.(มจร) 1/258/224-225.
                     12
                        “ราชาหมสฺมิ  เสลาติ ธมฺมราชา อนุตฺตโร” ใน ม.ม.13/609/554.


                        “อทณฺเฑน อสตฺเถน ธมฺเมน อภิวิชิย อชฺฌาวสิ” (ที.ปา. (บาลี) 11/81/49-50). ที.ปา. (ไทย) 11/81/60).
                     13
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114