Page 138 - kpi15476
P. 138
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 13
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ต่างก็ยังถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิด
ผู้ปกครองผู้ทรงภูมินี้ นั่นคือ
ฝ่ายหนึ่งเน้นไปที่ความเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาของตัวกษัตริย์เท่านั้น
แต่อีกฝ่ายหนึ่งเน้นไปที่การที่กษัตริย์พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม
อย่างในกรณีของพระเจ้าเฟดริกที่สอง หรือพระเจ้าเฟดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย (1712-
1786) ในตอนที่ทรงพระเยาว์ พระองค์ได้รับการอบรมสั่งสอนตามภูมิปัญญาความรู้สมัยใหม่ของ
ฝรั่งเศส (the French Enlightenment) และพระองค์ทรงดำเนินชีวิตส่วนตัวของพระองค์ตาม
แนวทางดังกล่าว แต่มิได้ทรงมีพระประสงค์ที่จะใช้ความรู้ดังกล่าวในการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง
ประเทศแต่อย่างใด แตกต่างไปจากผู้นำประเทศโปรตุเกสอย่าง เซบาสเตียน โฮเซ เดอ คาร์วาล
โล เอ เมโล (Sebastião José de Carvalho e Melo: 1699-1782) ที่พยายามใช้ภูมิปัญญา
สมัยใหม่ในการปฏิรูปประเทศ เพิ่มความเข้มแข็งให้กลับอำนาจเด็ดขาดของเขา จัดการกับ
ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และไม่เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยความเชื่อมั่นใน
ความถูกต้องของแนวทางการปฏิรูปสังคมของตน
ซึ่งในแง่นี้ หลายคนอาจนึกเทียบเคียงกับผู้นำสิงคโปร์อย่างลีกวนยู หรือผู้นำพรรค
คอมมิวนิสต์จีน หรือแม้กระทั่งผู้นำอย่างทักษิณ ชินวัตร เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า
สังคมไทยควรยินดีและยินยอมให้มีผู้นำที่เป็นเผด็จการหรือรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องฟังเสียง
ใคร กล้าที่จะจัดการกับฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง ขอเพียงผู้นำคนนั้นสามารถนำพาให้ประเทศ
ชาติเจริญก้าวหน้าเป็นใช้ได้ คงไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า คนไทยจำนวนไม่น้อยก็มีเชื้อทางความคิดนี้
ในแบบวอลแตร์ นอกจาก “enlightened despot” จะหมายถึงผู้ปกครองที่เป็นผู้ที่มีภูมิปัญญา
เองแล้ว ยังหมายถึงการที่ผู้ปกครองยอมรับผู้มีภูมิปัญญาเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้วย อย่างกรณีของ
วอลแตร์ที่กล่าวถึงไปข้างต้น รัฐบาลฝรั่งเศสมิได้ยอมรับวอลแตร์ แถมยังคุมขังและปฏิบัติต่อเขา
อย่างเลวร้าย แต่พระเจ้าเฟดริกมหาราชแห่งประเทศรัสเซียกลับทรงต้องการให้วอลแตร์มาเป็นที่
ปรึกษาของพระองค์ ด้วยพระองค์มีปณิธานว่า “ภารกิจหลักของข้าพเจ้าคือการต่อสู้กับความเขลา
และอคติ...ต้องการเปิดความคิดของผู้คน ปลูกฝังศีลธรรมที่ถูกต้อง และทำให้ประชาชนมีความสุข
ที่เหมาะสมกับธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ด้วยหนทางเท่าที่ข้าพเจ้าจะพึงมี” หรืออย่างในกรณี
ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่สามแห่งสเปน (1716-1788) ก็ถือว่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการ
ยกย่องว่าเป็น “enlightened despot” ด้วยพระองค์ทรงพยายามที่จะกอบกู้อาณาจักรของ
พระองค์จากความตกต่ำเสื่อมถอยผ่านการปฏิรูปครั้งใหญ่ อันได้แก่ ลดทอนอำนาจของฝ่าย
ศาสนจักร พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยในสถาบันการศึกษา ส่งเสริมการค้า
พาณิชย์ ปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัย และพยายามทำทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าสู่สงคราม
สเปนมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แต่เมื่อสิ้นพระองค์แล้ว สเปน
ก็กลับสู่สภาพย่ำแย่เหมือนเดิมอีก
นอกเหนือไปจากพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนแล้ว พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี
ของยุโรปที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “enlightened despot” ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดินีแคเธอรีนที่ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย