Page 139 - kpi15476
P. 139

13      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  2 มหาราชแห่งรัสเซีย (1729-1796) สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 แห่งออสเตรีย
                  (1741-1790) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มหาราชแห่งฝรั่งเศส (1638-1715) และก็น่าจะรวมถึง

                  “พระปิยมหาราช” ของเราด้วย สำหรับในกรณีของพระเจ้ากุสตาฟที่สามแห่งสวีเดน ปัจจัยสำคัญ
                  ที่ทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็น “กษัตริย์ผู้ทรงปัญญา” ก็คงหนีไม่พ้นการอบรมสั่งสอน
                  และการศึกษาที่พระองค์ได้รับนั่นเอง ในแง่นี้คงต้องยกความดีให้พระราชมารดาของพระองค์ที่ทรง

                  มีพระเนตรกว้างไกล จัดให้พระราชโอรสได้รับการศึกษาจากปราชย์สองท่านที่เป็นคนสวีเดนเอง
                  อย่างที่กล่าวไปแล้ว นั่นคือ เทสสิน (C.G. Tessin: 1695-1770) และดาลิน (Olof von Dalin:

                  1708-1763) ส่งผลให้พระเจ้ากุสตาฟที่สามเป็นกษัตริย์ที่ทรงปัญญารอบรู้ โดยเฉพาะการเจริญ
                  ปัญญาในแนวทางสมัยใหม่ของกระแสภูมิปัญญา (Enlightenment) และจากที่ทั้งสองได้รับ
                  อิทธิพลจากปราชญ์แห่งยุคภูมิปัญญาฝรั่งเศส (the French Enlightenment)


                       ดังนั้น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ผู้ปกครองมีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดในการบริหาร

                  ราชการแผ่นดินในเงื่อนไขที่ไม่มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจทางการเมืองอย่างชัดเจน ปัญญา
                  ความรู้และจริยธรรมของผู้ปกครองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะหากผู้ปกครองทรง “โง่และ
                  ไร้จริยธรรม” แล้ว การใช้อำนาจก็จะเป็นการใช้อำนาจอย่างโง่ๆ และไร้จริยธรรม ส่งผลกระทบต่อ

                  ประชาชนและสังคมโดยรวมเป็นอย่างยิ่ง และจากเงื่อนไขความจำเป็นที่ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์
                  ควรจะต้องมีปัญญาความรู้และมีจริยธรรมนี่เอง ที่ทำให้การวางรากฐานการศึกษาสำหรับผู้ที่ขึ้น

                  ครองราชย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด อย่างในกรณีของอังกฤษที่ในปี ค.ศ. 1642 ฝ่ายรัฐสภา
                  ยื่นเงื่อนไข 19 ข้อต่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่หนึ่งผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของอังกฤษครองราชย์อยู่ใน
                  ขณะนั้น ข้อเรียกร้องข้อที่สี่ใน 19 ข้อ มีความว่า ข้อสี่ “รัฐสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบผู้ที่จะมารับ

                  ผิดชอบการศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดาขององค์พระมหากษัตริย์”         17


                       ถ้าคนไทยคนใดในปัจจุบันที่ยังมีความรู้สึกเคารพยำเกรงสถาบันพระมหากษัตริย์ในแบบ
                  ไพร่ศักดินาได้ฟังข้อเรียกร้องของฝ่ายรัฐสภาอังกฤษที่เรียกร้องต่อพระมหากษัตริย์ในระบอบ
                  สมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อ 370 ปีที่แล้ว ย่อมต้องรู้สึกว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ไม่บังควรอย่างยิ่ง

                  และน่าจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือก้าวล่วงความเป็นส่วนพระองค์หรือก้างล่วงเรื่องในครอบครัว
                  ขององค์พระมหากษัตริย์ เพราะการวางเงื่อนไขว่า พระมหากษัตริย์จะให้ใครมาสอนหนังสือ

                  พระราชโอรสและพระราชธิดาต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาก่อนนั้น น่าจะเท่ากับเป็นการ
                  ดูแคลนสติปัญญาขององค์พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีผู้เป็น “พ่อแม่” ของลูกตัวเอง โดยไม่ไว้
                  วางใจว่าจะมีวิจารณญาณในการหาคนมาสอนหนังสือลูกๆ ของท่านได้ดีเท่ากับรัฐสภา ขนาดพ่อ

                  แม่ที่เป็นสามัญชนก็ย่อมจะไม่พอใจหากการเลือกโรงเรียนหรือครูให้ลูกของตนนั้นต้องผ่านความ
                  เห็นชอบของคนอื่น แม้ว่าจะเป็นถึงรัฐสภาก็ตาม
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย     committed shall be approved of by both houses of Parliament…, in such manner as is before



                        “That he or they unto whom the government and education of the king’s children shall be
                     17

                  expressed in the choice of councilors…” Sources and Debates with in English History 1485-1714,
                  edited by Newton Key and Robert Bucholz,  (Chichester, West Sussex: Wiley-Blackwell: 2009), 6.19-
                  20 The Nineteen Propositions (June 1, 1642), p. 164.
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144