Page 151 - kpi15476
P. 151

150     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ยุคต้นๆ ราชวงศ์สจ๊วต บรรดาผู้ที่นิยมสถาบันกษัตริย์ สมัยนั้นอย่างวิลเลียม ทุกเคอร์ (William
                  Tooker: 1557-1621) เดวิด โอเวน (David Owen) ได้ออกมาประกาศว่า พระมหากษัตริย์

                  อังกฤษ (พระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง: 1566-1625) คือพ่อของแผ่นดินของพระองค์ (The King was the
                  father of his country.) อีกทั้งยังมีการกล่าวสนับสนุนว่า การปกครองของกษัตริย์ต่อราษฎรของ
                  พระองค์ในฐานะพ่อปกครองลูกนั้นเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ มีการคัมภีร์ไบเบิลก็ถูก

                  นำมาตีความสนับสนุนระบอบปิตาธิปไตย โดยเฉพาะบทบัญญัติข้อที่ห้าที่ว่า “จงเคารพนับถือพ่อ
                  และแม่ของเจ้า” ถูกตีความว่า ให้เคารพนับถือพ่อแท้ๆ และเคารพนับถือองค์พระมหากษัตริย์

                  ในฐานะพ่อของแผ่นดินด้วย ซึ่งในกรณีที่พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้หญิงอย่างสมเด็จพระจักรพรรดินี
                                                               36
                  มาเรีย เทเรซา ก็คงเปรียบได้ดั่งแม่ของแผ่นดิน  จากแนวคิดดังกล่าวที่ว่า อำนาจกษัตริย์และ
                  อำนาจบิดาเป็นอำนาจชนิดเดียวกัน ดังนั้น ผู้เป็นพ่อก็ต้องมีอำนาจในการลงโทษบุตรของตนให้

                  ถึงแก่ชีวิตได้ และด้วยเหตุนี้ พระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง ได้ตรัสต่อรัฐสภาในปี ค.ศ. 1610 ว่า “ในฐานะ
                  บิดาของครอบครัว ภายใต้กฎธรรมชาติ (the Law of Nature patriam potestatem) อำนาจ

                  ดั้งเดิมเก่าแก่ของบิดาจึงเป็นอำนาจแห่งความเป็นและความตาย (potestatem vitae et necis)
                  เหนือบุตรของเขา โดยเราหมายถึงพ่อและครอบครัวแรกเริ่มเหล่านั้นที่เป็นจุดเริ่มต้นที่มาของ
                                37
                  อำนาจกษัตริย์”  และแน่นอนว่า ในกรณีของ “แม่” ที่ทำหน้าที่แทน “พ่อ” ก็ย่อมมีอำนาจแห่ง
                  ความเป็นและความตายเหนือบุตรของเธอเช่นกัน


                       และคำประกาศของไพร่ฟ้าที่ว่า “…..ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน” ก็ดูจะสอดคล้องกับ
                  แนวคิดทางการปกครองของอังกฤษในศตวรรษที่สิบเจ็ดและกุศโลบายการปกครองของสมเด็จ
                  พระจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียในศตวรรษที่สิบแปด แต่ปัญหาอยู่ที่ คำประกาศของ

                  ไพร่ฟ้าดังกล่าวเกิดขึ้นในสังคมไทยในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด


                       แนวคิดที่เปรียบพระเจ้าแผ่นดินดุจ “พ่อหรือแม่ของแผ่นดิน” จะเหมาะสมได้หรือไม่ขึ้นอยู่
                  กับเงื่อนไขบริบททางประวัติศาสตร์ แต่จากมุมมองที่มีเหตุผลและมีปัญญาในแบบ “enlightenment”
                  ของยุโรปแล้ว มันเป็นสิ่งที่โบราณล้าสมัย ไม่สอดคล้องต่อพัฒนาการทางสังคม-เศรษฐกิจและ

                  การเมืองสมัยใหม่แต่อย่างใด


                       เงื่อนไขประการที่สองที่เป็นลักษณะร่วมของพระเจ้าแผ่นดินยุโรปที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น
                  “enlightened despot” คือ ประเด็นเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของสภาพภูมิศาสตร์และ
                  ภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐของพระองค์ นั่นคือ รัฐในบริเวณยุโรปตอนกลางและตะวันออก และรัฐที่อยู่

                  ในช่วงเริ่มเสื่อมสลายจากความยิ่งใหญ่ในอดีตที่ผ่านมา เช่น สวีเดนและสเปน เงื่อนไขทาง
                  ภูมิศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เป็นบริบทของการเกิด “enlightened despot”

                  ไครเกอร์กล่าวว่า สำหรับอังกฤษ (Great Britain) และฝรั่งเศสในสมัยของพระเจ้าจอร์จที่สอง
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   มิได้เป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต้องมีความใส่ในพระราชหฤทัยใน
                  (George II: 1683-1760) และพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้า (Louis XV: 1710-1774) เงื่อนไขดังกล่าว



                  การที่จะต้องทำอะไรเพื่อเป็น “enlightened despot”  อีกทั้ง ในกรณีของพระเจ้าจอร์จที่สามนั้น
                                                                   38
                        J.P. Sommerville, Politics and Ideology in England 1603-1640, (London: Longman: 1986), p. 26.
                    36

                    37

                       J.P. Sommerville, Politics and Ideology in England 1603-1640, ibid.

                    38
                        Leonard Krieger, opcit., p. 245.
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156