Page 207 - kpi15476
P. 207
20 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ตนเอง ดังจะเห็นได้จากหลักธรรมข้อต่างๆ ที่มีอยู่ในทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตรแต่ละข้อที่
มุ่งเน้นให้ผู้ปกครองกระทำตนให้เป็นคุณประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ ไม่ข่มเหงประชาชนให้
เกิดความเดือดร้อน ส่วนหลักคิดของเพลโตนั้นก็จะเน้นที่ความยุติธรรมของผู้ปกครองเช่นเดียวกัน
ซึ่งหากสังเกตใจความที่ธรรมราชาและราชาปราชญ์มีเหมือนกันข้อดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้เรา
สามารถสังเกตเห็นความเหมือนกันอีก 4 ประการได้ง่ายขึ้น เพราะการที่ทั้งธรรมราชาและ
ราชาปราชญ์จะเป็นผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้น
ย่อมต้องอาศัยคุณสมบัติที่มีเหมือนกันทั้งสี่ประการนี้ในการช่วยให้พระองค์สามารถบรรลุ
เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยคุณสมบัติทั้งสี่ประการได้แก่
ประการแรก นักปกครองและประชาชนเป็นสิ่งที่อยู่เคียงคู่กัน ดังจะเห็นได้จากแนวคิด
เกี่ยวกับราชาปราชญ์ของเพลโต ที่ได้กล่าวไว้ว่า ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการที่ชนชั้นทั้ง
3 ส่วน นั่นคือ นักปกครอง พิทักษ์ชน และราษฎรมีการทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน
ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน นั่นแสดงให้เห็นว่า เพลโตมิได้เน้นนักปกครองเพียงอย่างเดียว
ในการปกครองรัฐ แต่ยังเน้นให้ทั้งนักปกครองและผู้ที่อยู่ในรัฐได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างประโยชน์สุข
ส่วนรวมให้บังเกิดขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นธรรมราชาที่จำเป็นต้องดำรงอยู่คู่กับประชาชนด้วย
มิเช่นนั้น สถานภาพของความเป็นธรรมราชา ดังเช่นอัคคัญญสูตรในพระไตรปิฎกที่ถือว่า
พระมหากษัตริย์จะเสวยราชสมบัติได้ก็โดยสโมสรสมมุติของประชาชน นั่นคือ ได้รับความยินยอม
พร้อมใจจากประชาชนหรือตัวแทนของประชาชน (ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา, 2539, น.77)
จากข้อกำหนดที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า ความชอบธรรมในการปกครองของธรรมราชาและ
ราชาปราชญ์ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องอิงอาศัยกับประชาชนด้วย มิใช่เน้นแต่เรื่องของอำนาจเหนือ
ธรรมชาติเท่านั้น
ประการที่สอง นักปกครองดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพ ด้วยเหตุที่นักปกครองของทั้ง
แนวคิดธรรมราชาและแนวคิดราชาปราชญ์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และทำกรณียกิจต่างๆ
เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม ด้วยเหตุนี้ นักปกครองจึงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพของประชาชน
ซึ่งความเคารพที่นักปกครองได้มาเป็นความเคารพที่เกิดจากความเต็มใจของประชาชน มิใช่เกิด
จากการบังคับขู่เข็ญ ดังจะเห็นได้จากแนวคิดแบบธรรมราชาที่เน้นว่า จอมจักรพรรดิราชผู้เป็น
ธรรมราชานั้นเป็นผู้ที่สามารถปราบแว่นแคว้นต่างๆ ได้ด้วยธรรมะ มิได้ปราบด้วยอาวุธ ทำให้
แว่นแคว้นต่างยอมเข้ามาสวามิภักดิ์แต่จอมจักรพรรดิราช แม้เรื่องราวของจอมจักรพรรดิราชจะมี
การอธิบายถึงอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆด้วยก็ตาม แต่เรื่องการเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนก็ถือ
เป็นใจความสำคัญของแนวคิดดังกล่าวด้วย ส่วนแนวคิดแบบราชาปราชญ์ของเพลโต ก็จะเห็นได้
จาก การที่เพลโตให้ความสำคัญกับการมีความรู้และความยุติธรรมของนักปรัชญา แล้วจึงสรุปว่า
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ผู้อยู่ใต้ปกครองจึงควรให้ความร่วมมือกับนักปกครองด้วย เพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น
นักปรัชญาควรเป็นผู้ปกครองรัฐ (ชุมพร สังขปรีชา, 2529, น.27) โดยการอธิบายในลักษณะ
ดังกล่าว ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เพลโตได้ให้คุณค่ากับผู้ปกครองในฐานะผู้มีความสามารถ ดังนั้น
ตามที่เพลโตได้เน้นถึงความสมดุลของการทำงานของชนชั้นทั้งสามในรัฐ