Page 209 - kpi15476
P. 209
20 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
พระองค์ดำรงอยู่จะแตกต่างจากแนวคิดธรรมราชาและราชาปราชญ์ก็ตาม กล่าวคือ พระมหา
กษัตริย์ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย จะทรงดำรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
อันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่บริบทดังกล่าว ก็มิได้เป็นอุปสรรคขัดขวางใน
การปฏิบัติพระองค์เป็นธรรมราชาและราชาปราชญ์เลย เพราะพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบการ
ปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยสามารถที่จะปรับพระองค์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ
กฎหมายได้ ประกอบกับตัวกฎหมายเองก็มีการคำนึงถึงบริบทของสังคมไทยดั้งเดิมที่มีพระมหา
กษัตริย์ปกครองด้วย จึงส่งผลให้พระมหากษัตริย์ไทยยังทรงสามารถปฏิบัติพระองค์เพื่อประโยชน์
สุขของประชาชนได้โดยการใช้ความรู้ความสามารถและคุณธรรมในการปกครอง ตามแนวคิด
ธรรมราชาและราชาปราชญ์ เพียงแต่รูปแบบของสิ่งที่พระมหากษัตริย์ไทยในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยทรงกระทำจะมีความแตกต่างจากพระมหากษัตริย์ไทยในการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชก็ตาม ดังที่จะได้กล่าวต่อไป
เมื่อสำรวจลักษณะของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาตั้งแต่อดีต จะสังเกตได้ว่า รูปแบบของ
ความเชื่อเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยนั้น ได้มี “พัฒนาการ” มาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปรับให้เข้ากับแนวความคิดและอุดมการณ์ต่างๆ ที่ไหลผ่านเข้ามาจากชาติตะวันตก
นั่นเอง โดยเฉพาะในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ดูเหมือนความเชื่อเกี่ยวกับสถาบันพระมหา
กษัตริย์จะมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก และหนึ่งใน
อุดมการณ์สำคัญที่เข้ามาในสังคมไทย จนเป็นสาเหตุให้สถาบันพระมหากษัตริย์จำเป็นที่จะต้องมี
การปรับเปลี่ยนคติความเชื่อที่มีมาแต่เดิมก็คือ อุดมการณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตย
ซึ่งอุดมการณ์ชุดนี้ เป็นอุดมการณ์ที่มีการแพร่เข้ามาจากประเทศตะวันตก ผ่านทางการติดต่อ
สื่อสารกันระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งทางด้านการทูต การค้า และการศึกษา โดย
อุดมการณ์ชุดดังกล่าวได้ค่อยๆแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำความคิดของชนชั้นปกครองในประเทศไทย
ประกอบกับมีการเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศของบุคคลที่อยู่ในชนชั้นปกครองด้วย จึงทำให้
อุดมการณ์ชุดนี้ยิ่งมี “พลัง” ในการที่จะกำหนดความคิดและการกระทำของชนชั้นปกครองของไทย
มากยิ่งขึ้น จนในที่สุดจึงได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
มาเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ตามลักษณะของ
อุดมการณ์ที่ได้แพร่เข้ามา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่พลิกโฉมหน้าของ
สังคมไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงแม้ว่าในระยะ
แรกที่อุดมการณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตยได้แพร่เข้ามา สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้มีการ
ปรับเปลี่ยนลักษณะของตนเองให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมไปวาระหนึ่งแล้วก็ตาม โดยหลัง
จากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ที่แต่เดิมทรงเป็น
รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) ก็หมดไป และได้เปลี่ยนพระราชสถานะมาเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) แทน (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2520, น.23) หรือถ้าจะ
อยู่ในขอบเขตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้พระมหากษัตริย์ 2 รัชกาลต่อมา คือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองที่จำกัดมากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นๆ ในอดีต