Page 233 - kpi15476
P. 233

232     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  เชิงปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ว่า มนุษย์เป็น
                  สัตว์สังคมและเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้อื่น และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ

                  บุคคลได้รับเสรีภาพ ในการเข้าไปร่วมทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งนักเรียนนักศึกษา
                  ควรจะต้องได้รับการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ใช้กระบวนการสร้างประสบการณ์ จากการได้ลงมือ
                  ปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามจากข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ

                  เพื่อนำไปสู่การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ ตามแนวคิดนี้ ผู้เรียนจึงเป็นทั้ง
                  นักแก้ปัญหา (problem solver) และนักคิด (thinker) โดยครูมีบทบาทในการจัดหรือเตรียม

                  ประสบการณ์ที่มีความหมายแก่นักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (learn by
                  doing) (เฉลิมลาภ ทองอาจ, 2556: http://www.gotoknow.org/posts/419138)


                       นอกจากนี้ผลการวิจัยยังได้ข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ นักศึกษาที่เรียนรู้วิเคราะห์พฤติกรรม
                  คุณธรรมผู้นำสิบประการนั้น มีความเชื่อตระหนักรู้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมผู้สิบประการ

                  อยู่ในระดับสูงทั้งหมด แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่านักศึกษามีความเชื่อตระหนักรู้เห็น
                  ความสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมด้านความเพียร และความไม่โกรธ มีค่ามากกว่าด้านอื่นๆ ซึ่ง
                  สอดคล้องกับผลการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์สังเคราะห์พฤติกรรมคุณธรรมผู้นำสิบประการ

                  หลังการรับฟังการบรรยายพระราชประวัติ ซึ่งพบว่านักศึกษาสามารถวิเคราะห์สังเคราะห์จำแนก
                  ข้อมูลคุณธรรมด้าน ตบะ (ความเพียร) และอักโกธะ (ความไม่โกรธ)ได้ค่อนข้างมากกว่า

                  คุณธรรมด้านอื่นๆ ทั้งนี้จึงอาจสื่อความหมายว่าการเรียนรู้นั้นเป็นประสบการณ์ที่สามารถถ่ายทอด
                  ไปสู่ จิตสำนึกความรู้สึก จึงเป็นการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปถึงด้านทัศนคติ (Ambrose, 2010)
                  นั่นเอง อย่างไรก็ตามผลการเรียนรู้นี้ยังสอดคล้องกับ ความคิดเห็นของผู้บรรยาย ซึ่งเป็นผู้ให้

                  ข้อมูลสำคัญในงานวิจัยที่ว่า ธรรมข้อที่เด่นมาก คือเรื่องของอักโกธะ (ความไม่โกรธ) อันเป็นผลที่
                  เกี่ยวเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้ผนวช และอยู่ในสมณเพศยาวนาน

                  ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ อันเป็นการให้ข้อสนับสนุนว่า หลักศาสนาพุทธนั้นมีความเกี่ยวพันธ์กับ
                  หลักทศพิพิธราชธรรมอย่างเหนียวแน่น (สำนักราชเลขาธิการ, 2516) ดังนั้นจึงเป็นโชคดีของปวง
                  ชนชาวไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วที่สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของ

                  สังคมไทยนั้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำและองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาด้วย (http://
                  www.mettadham.ca/buddhism.htm)



                  ข้อเสนอแนะและประโยชน์ของงานวิจัย



                         1. ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน ผลการ
                           ศึกษาสามารถนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   (มจธ.) ในวิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นวิชาหลักที่สำคัญ
                           คุณธรรมผู้นำสิบประการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


                           ในกลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป ให้มีความกระชับ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238