Page 236 - kpi15476
P. 236

คุณธรรมของผู้ปกครอง

                            เกี่ยวกับภาวะแห่งพันธะหน้าที่ต่อ

                            ผู้ใต้ปกครองและจริยศาสตร์ครอบครัว:

                            เปรียบเทียบแนวคิดโลกตะวันออกในมหาภารตยุทธกับ
                            คัมภีร์หลุนอวี่


                            นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ  1




                            บทคัดย่อ




                                  การศึกษาปรัชญาเป็นการศึกษาปัญหาพื้นฐานซึ่งมีส่วนเกี่ยวโยงสัมพันธ์
                            กับความคิดอื่นๆ ภายในระบบมโนทัศน์หนึ่งๆ เป็นกระบวนการความคิดที่มีการ
                            กำหนดคุณค่าภายในตัวความคิดที่มีการจัดระบบคิดเกี่ยวกับหลักการอยู่ร่วมกัน

                            ของมนุษย์เพื่อสร้างเป็นกรอบการดำเนินชีวิตให้สังคมเกิดความเรียบร้อยเป็น
                            ปกติสุข ในที่นี้เป็นการศึกษาคุณธรรมของผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะแห่งพันธะ

                            หน้าที่ต่อผู้ใต้ปกครองและจริยศาสตร์ครอบครัว โดยเปรียบเทียบปรัชญา
                            ตะวันออกระหว่างมหากาพย์มหาภารตยุทธอันเป็นมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของ
                            อินเดียกับคัมภีร์หลุนอวี่ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่รวบรวมคำสอนของขงจื่อผู้เป็น

                            นักปราชญ์ของจีน ในการศึกษาปรัชญาฮินดูผ่านมหากาพย์มหาภารตยุทธจะแฝง
                            ไว้ด้วยนัยความคิดทั้งในเชิงจริยศาสตร์และอภิปรัชญาที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม

                            อินเดีย ส่วนปรัชญาขงจื่อในคัมภีร์หลุนอวี่จะมีลักษณะเป็นจริยศาสตร์มากกว่า
                            อภิปรัชญาหรือญาณวิทยา แต่ก็เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นภายในเครือข่าย
                            ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความคล้ายคลึงกันของทั้งสองตัวบทในการมอง

                            สังคมแบบโครงสร้างหน้าที่ จากปรัชญาขงจื่อที่พยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาสังคมที่
                            เกิดความวุ่นวายขึ้นเป็นเพราะบทบาทไม่เป็นไปตามนามหรือฐานะ ส่วนปรัชญา

                            ฮินดูในมหาภารตยุทธจะมองว่าความวุ่นวายในสังคมจะเกิดขึ้นหากกษัตริย์ไม่ทำ
                            หน้าที่ของกษัตริย์ ทำให้ไม่สามารถปกป้องระเบียบสังคมไว้ได้หรือไม่สามารถ
                            ทำให้ผู้ใต้ปกครองปฏิบัติตามหน้าที่ในวรรณะของตนเอง ทั้งสองปรัชญาจึงมอง

                            ว่าความวุ่นวายต่างๆจะหายไปเมื่อบุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะของตน
                            (ปรัชญาฮินดู) หรือเมื่อมีความชอบธรรมในฐานะแห่งนามนั้น (ปรัชญาขงจื่อ)

                            แต่ทั้งสองปรัชญาจะมองแตกต่างกันในการเสนอทางออกสำหรับปัญหาความขัด
                            แย้งในบทบาทหน้าที่ กล่าวคือ ปรัชญาขงจื่อจะมองว่าครอบครัวเป็นสายสัมพันธ์
                            อันใกล้ชิดที่ต้องรักษาไว้เป็นอันดับแรก (หน่วยย่อยต้องทำให้ดีก่อนหน่วยใหญ่)



                               1   รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ
                            คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241