Page 237 - kpi15476
P. 237
23 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ส่วนในมหาภารตยุทธจะมองว่าครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยย่อยจะดำรงอยู่ได้จำเป็นต้องมีรัฐที่เป็น
ปึกแผ่นและมั่นคงเสียก่อน นั่นคือให้ความสำคัญกับหน้าที่ของผู้ปกครองเป็นหลัก (หน่วยใหญ่
ต้องทำให้ดีก่อนหน่วยย่อย)
การศึกษาคุณธรรมของผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะแห่งพันธะหน้าที่ต่อผู้ใต้ปกครองและ
จริยศาสตร์ครอบครัว โดยเปรียบเทียบปรัชญาตะวันออกระหว่างมหากาพย์มหาภารตยุทธอันเป็น
มหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดียกับคัมภีร์หลุนอวี่ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่รวบรวมคำสอนของขงจื่อ
ผู้เป็นนักปราชญ์ของจีน ในการศึกษาปรัชญาฮินดูผ่านมหากาพย์มหาภารตยุทธจะแฝงไว้ด้วยนัย
ความคิดทั้งในเชิงจริยศาสตร์และอภิปรัชญาที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอินเดีย ขบวนการทางความคิด
และศาสนาฮินดู รวมทั้งพัฒนาการอันเป็นหลักจริยศาสตร์และสังคม อย่างไรก็ตามพึงตระหนัก
ด้วยว่ามหากาพย์นี้นอกจากจะเป็นวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่แล้ว ยังมีปรัชญาความคิดที่เป็นคัมภีร์ทาง
ลัทธิศาสนาด้วย อันได้แก่ ภควัทคีตาซึ่งแยกออกต่างหากจากมหากาพย์นี้ ทั้งนี้ธรรมของปรัชญา
ฮินดูที่แฝงอยู่ในมหาภารตยุทธจะแยกความแตกต่างลงไปว่าหน้าที่ทางสังคมต้องประกอบด้วย
กรรมตามวรรณะ ทุกอย่างต้องมีธรรมหรือกฎเกณฑ์กำหนดให้ผู้นั้นเป็นไป มนุษย์จึงต้องประกอบ
กรรมให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับธรรม ซึ่งอยู่บนฐานการจัดระเบียบสังคมของมนุษย์
ส่วนปรัชญาขงจื่อในคัมภีร์หลุนอวี่จะมีลักษณะเป็นจริยศาสตร์มากกว่าอภิปรัชญาหรือญาณวิทยา
แต่ก็เป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นภายในเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ดังนั้นทั้งสองตัวบท
จึงมีความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ว่าควรจะดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไรเพื่อให้เกิดความ
สงบสุขในโลกทางสังคมการเมืองของมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงในข้อคิดแห่งระบบปรัชญา กล่าวคือ
ปรัชญาขงจื่อมีลักษณะเป็น “มนุษยนิยม” เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และการปฏิบัติตนให้
ถูกต้องตามนามแห่งฐานะของตนเอง ส่วนปรัชญาฮินดูจะเน้นหน้าที่ที่ติดตัวมาโดยกำเนิดของ
แต่ละคนและพยายามทำตามหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ที่สุด
บทความนี้เริ่มจากข้อสังเกตดังกล่าวและเป็นความพยายามที่จะแสวงหาความหมายเกี่ยวกับ
คุณธรรมของผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะแห่งพันธะหน้าที่ต่อผู้ใต้ปกครองและจริยศาสตร์ครอบครัวที่
แฝงอยู่ในปรัชญาขงจื่อกับปรัชญาฮินดูในมหากาพย์มหาภารตยุทธนั้นจะมีความคล้ายคลึงและ
แตกต่างกันอย่างไร โดยบทความนี้จะอภิปรายในสามส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการอภิปราย
เกี่ยวกับพันธะหน้าที่ต่อรัฐและหน้าที่ต่อครอบครัวในปรัชญาตะวันออกที่แฝงอยู่ในคัมภีร์หลุนอวี่
กับมหากาพย์มหาภารตยุทธ ส่วนที่สองเป็นบทวิเคราะห์เปรียบเทียบมโนทัศน์เชิงจริยศาสตร์ของ
ความสัมพันธ์ในครอบครัวในความคิดทางการเมืองระหว่างปรัชญาขงจื่อในคัมภีร์หลุนอวี่กับ
ปรัชญาฮินดูในมหากาพย์มหาภารตยุทธ โดยจะวิเคราะห์เปรียบเทียบในสามประเด็นที่สำคัญ
ได้แก่ เปรียบเทียบประเด็นจริยศาสตร์ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เชื่อมโยงกับความสัมพันธ์เชิง
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย คนในครอบครัว ส่วนที่สามเป็นบทสรุปที่ได้จากการเปรียบเทียบปรัชญาตะวันออกของทั้งสองตัว
อำนาจทางการเมือง เปรียบเทียบประเด็นการให้สัจจะวาจาในครอบครัวที่สัมพันธ์กับกฎเกณฑ์ทาง
สังคม และเปรียบเทียบประเด็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดกับการอำพรางความผิดของ
บทในภาพรวม