Page 240 - kpi15476
P. 240

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   239


                            อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ามหาภารตยุทธเลือกที่จะเน้นบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
                      ในวรรณะกษัตริย์ โดยมิได้เน้นไปที่ประชาชนส่วนใหญ่ในวรรณะอื่น ซึ่งทำให้มองว่าบทบาท

                      กษัตริย์นั้นมีความสำคัญต่อวรรณะอื่นๆ อย่างไร ดังที่สะท้อนในมานวธรรมศาสตร์ที่ว่า “กษัตริย์
                      (Ksatriya) ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องระเบียบสังคมและทำให้บุคคลในวรรณะปฏิบัติตามหน้าที่ของ
                      ตน” (The Law Code of Manu, 2004:264) หากมองในทางกลับกัน การที่กษัตริย์จะทำให้

                      บุคคลภายใต้ปกครองปฏิบัติตามหน้าที่ของตนได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหน้าที่ของกษัตริย์
                      เองด้วย ในแง่หนึ่งอาจมองได้ว่าหากกษัตริย์ไม่ปกป้องประชาชนและอาณาจักรของพระองค์แล้ว

                      ประชาชนก็จะไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่ของตนได้โดยสมบูรณ์ จากตัวบทมหาภารตยุทธ
                      หน้าที่ที่สำคัญในที่นี้ คือ หน้าที่ออกรบของอรชุนที่มหากาพย์เสนอให้เป็นตัวชูโรงในการนำเสนอ
                      ว่าการออกรบเป็นพันธะหน้าที่หนึ่งของกษัตริย์ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้บุคคลวรรณะอื่นดำรงอยู่

                      และปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ของตนได้ แม้ว่าการทำหน้าที่นั้นจะต้องฆ่าญาติพี่น้องหรือคน
                      ในครอบครัวของตนเองก็ตาม ดังนั้นการทำหน้าที่ภายใต้สถานการณ์เฉพาะที่มีเงื่อนไขจาก

                      สถานภาพทางการเมืองโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเครื่องบ่งบอกจริยธรรมของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับ
                      ครอบครัวด้วย แม้ว่าจริยธรรมของมนุษย์นี้จะมิได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมนุษย์เองแต่มีพระพรหมเป็น
                      ผู้กำหนดซึ่งเป็นวิถีทางนำไปสู่ภาวะความเป็นหนึ่งเดียวกับพระพรหม แต่ทว่าก็เป็นจริยธรรมที่ใช้

                      ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน


                            เมื่อเปรียบเทียบกับปรัชญาขงจื่อแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับปรัชญาฮินดูตรงที่
                      การแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ คือ ตัวกำหนดสถานภาพให้แต่ละคนได้ยึดถือและปฏิบัติ ในปรัชญา
                      ฮินดูมีความคิดที่ว่าทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตามพึงปฏิบัติตนให้สมกับฐานะนั้น เพราะหาก

                      เกิดความสับสนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทแล้ว ย่อมทำให้เกิดความแปรปรวนและส่งผล
                      กระทบต่อสังคมโดยรวมในที่สุด คล้ายกับปรัชญาขงจื่อในส่วนที่ว่า หากส่วนใดไม่ได้ทำหน้าที่ตาม

                      นามนั้น ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีความชอบธรรมต่อนาม (ในภาษาจีนเรียกว่า เจิ้งหมิง) การที่บุคคล
                      ไม่ดำรงตนอยู่ตามสถานภาพของหน้าที่นั้น จะทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคมใหญ่ กล่าวคือ
                      หากฐานะไร้ความเที่ยงตรงต่อนาม คำพูดหรือภาษาก็วิปริต ไม่มีความหมายอะไร สิ่งที่ตกลงกัน

                      แล้วไม่ทำตามนั้น เมื่อเจรจาไม่ได้ผล ภารกิจหน้าที่ก็ไร้ความสำเร็จ เมื่อภารกิจไร้ความสำเร็จ
                      จริยธรรมและคีตะก็ไม่อาจรุ่งเรืองได้ ราชธรรมการลงทัณฑ์ต่างๆก็ไม่อาจแก้ไขความวุ่นวายได้

                      เพราะประชาชนไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะถูกต้อง (คัมภีร์หลุนอวี่,2549:264) เหตุที่ขงจื่อ
                      ให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่ของตนไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ในครอบครัวหรือหน้าที่ต่อรัฐ ดังตัวบทที่
                      ขงจื่อกราบทูลฉีจิ่งกงว่า “กษัตริย์ให้เป็นดั่งกษัตริย์ ขุนนางให้เป็นดั่งขุนนาง บิดาให้เป็นดั่งบิดา

                      บุตรให้เป็นดั่งบุตร” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:256) เพราะหากสร้างให้เกิดความชอบธรรมต่อ
                      นามแล้ว ทุกอย่างที่ดีงามจะตามมาหมด การแก้ไขความวุ่นวายจึงต้องแก้ที่เหตุขั้นต้นก่อน โดย

                      เฉพาะบทบาทของผู้ปกครองต้องประพฤติตนอย่างถูกต้องและเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะมีฐานะ
                      ในอำนาจหน้าที่ที่จะส่งผลให้ผู้ใต้ปกครองเกิดการทำตามได้อย่างกว้างขวางเปรียบกับวิญญูชน
                      เป็นต้นลม ประชาชนเป็นต้นหญ้า เมื่อต้นลมพัดไปถูกทิศทางก็จะพัดพาหญ้าตามไปด้วย เพราะ

                      มนุษย์สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองเมื่อมีแบบอย่างได้                                                เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245