Page 239 - kpi15476
P. 239

23      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       จากตัวบทนี้ตีความได้ว่าหากผู้คนหรือประชาชนทั่วไปมีความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว
                  ในลักษณะของการสำนึกถึงความกตัญญูต่อบุพการี เมื่อมีความกตัญญูแล้วก็จะรู้จักมีน้ำใจและ

                  ปรองดองในหมู่ญาติพี่น้อง เพราะความขัดแย้งกันระหว่างพี่น้องมีแต่จะทำให้บุพการีเสียใจ ดังนั้น
                  เมื่อมีความปรองดองรักใคร่กลมเกลียวกันในครอบครัวก็ถือว่าเป็นการบริหารบ้านเมืองให้ปกติสุข
                  ไปในตัวแล้ว ซึ่งเท่ากับว่าเป็นความพยายามที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเข้ามาสู่

                  สังคมการเมืองที่ใหญ่กว่า โดยสรุปแล้วในแนวคิดครอบครัวของขงจื่อจะมีสมมติฐานว่าครอบครัว
                  เป็นหลักความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ถือว่าสำคัญที่สุดในหน่วยย่อยของมนุษย์ โดยเน้นที่ความ

                  ใกล้ชิดต่อบิดาและมารดา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของคนทั่วไป หรือครอบครัวของผู้ปกครอง
                  โดยเฉพาะครอบครัวของตัวผู้ปกครองที่ต้องยึดถือหลักความกตัญญูเป็นสำคัญเพราะถือเป็นแบบ
                  อย่างที่ดีให้กับประชาชน เท่ากับเป็นการมองครอบครัวในภาพย่อยที่เชื่อมโยงมาสู่การมองภาพใน

                  โครงสร้างใหญ่


                  ปรัชญาฮินดูในมหากาพย์มหาภารตยุทธ




                       จากการศึกษาปรัชญาฮินดูในตัวบทของมหากาพย์มหาภารตยุทธพบว่าจะเน้นแนวคิด
                  ครอบครัวที่มีเรื่องของสถานภาพทางการเมืองในการกำหนดบทบาทของบุคคลในบางสถานการณ์
                  โดยอิงกับความคิดในทางอภิปรัชญาที่ว่า หากส่วนใดไม่ได้ทำหน้าที่ตามโครงสร้าง ก็ไม่อาจถือได้

                  ว่าเข้าถึงเอกภาพแห่งการรวมกับปรมาตมันที่ถือเป็นพื้นฐานแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง พระพรหมเป็น
                  ความจริงสูงสุดที่รองรับระบบวรรณะ แต่ใช่ว่าอุดมคติแห่งมนุษย์จะอยู่เหนือชีวิตมนุษย์อันห่างไกล

                  เหนือโลก ดังเห็นได้จากในตัวบทมีการพิจารณาปัญหาภายในมนุษย์และปัญหาความขัดแย้ง
                  ระหว่างมนุษย์เองที่เกี่ยวโยงกับสังคมและระเบียบแห่งสังคม กล่าวคือ การทำสงครามรบพุ่ง
                  ระหว่างพี่น้องฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพที่ล้วนอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ตามคัมภีร์พระเวทพวก

                  กษัตริย์จะมีหน้าที่ปกครองซึ่งรวมไปถึงการออกรบเพื่อป้องกันอาณาจักร เป็นการทำตามหน้าที่
                  โดยมีจิตที่ภักดีศรัทธาต่อพระกฤษณะโดยปราศจากความยึดมั่นถือมั่นเพื่อบรรลุซึ่งเป้าหมาย

                  ในการรักษาไว้ซึ่งระเบียบวรรณะทางสังคมและเป้าหมายสูงสุดของการกระทำที่ได้ไปรวมกับ
                  พระพรหม  การตายจึงเป็นเพียงการเปลี่ยนร่างไปสู่ร่างใหม่แต่ไม่ได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
                            2
                  ตามปรัชญาฮินดูจึงมองว่าการตายเป็นเรื่องธรรมดา แต่การตายที่ประเสริฐคือการตายในหน้าที่

                  ของตนเท่านั้น เพราะธรรมคือการทำตามหน้าที่ของตน การละทิ้งหน้าที่ถือว่าเป็นบาป ในแง่นี้จึง
                  เป็นปรัชญาในลักษณะอภิปรัชญาที่แยกไม่ออกจากปรัชญาสังคมที่เป็นการปฏิบัติตามบทบาทของ

                  หน้าที่ในวรรณะและจริยศาสตร์ที่พิจารณาว่าการกระทำใดถูกหรือผิด เท่ากับเป็นการกระทำ
                  ที่มนุษย์ต้องทำตามหน้าที่ซึ่งผูกพันกับฐานะในสังคม และหากไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนแล้ว
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย        2   หลักประโยชน์ 4 หรือความมุ่งหมายในชีวิตมนุษย์มีอยู่ 4 ประการตามลำดับ ได้แก่
                  ย่อมจะนำมาสู่ความวุ่นวายในสังคมได้



                        1)  อรรถะ อันได้แก่ ประโยชน์หรือทรัพย์สินเงินทอง
                        2)  กามะ อันได้แก่ ความใคร่ ความปรารถนาหรือความต้องการ

                        3)  ธรรมะ อันได้แก่ คุณความดีหรือความถูกต้อง


                        4)  โมกษะ อันได้แก่ การเข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือนิพพาน จัดว่าเป็นประโยชน์
                  สูงสุดของชีวิต
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244