Page 242 - kpi15476
P. 242

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   241

                      ประเด็นแรก: เปรียบเทียบประเด็นทางจริยศาสตร์ความสัมพันธ์ในครอบครัว

                      ที่เชื่อมโยงกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางการเมือง


                            ในประเด็นเรื่องความกตัญญูอันเป็นจริยธรรมหลักของความสัมพันธ์ในครอบครัว นอกเหนือ
                      จากที่กล่าวไว้ในปรัชญาขงจื่อแล้ว ในมหาภารตยุทธก็มีการกล่าวถึงหลักธรรมนี้ไว้เช่นเดียวกัน

                      แต่มีลักษณะที่น่าสนใจในกรณีของกรรณะที่เป็นพี่น้องกับฝ่ายปาณฑพเนื่องจากเป็นลูกคนหัวปี
                      ของนางกุนตีที่เกิดจากสูรยเทพเจ้าแต่นางไม่ได้เลี้ยงเองตั้งแต่แรกเกิด แต่ถูกเลี้ยงดูโดยฝ่ายเการพ

                      เมื่อทั้งสองฝ่ายนี้เกิดความขัดแย้งกัน ทำให้ต้องเลือกข้าง จึงเกิดคำถามขึ้นว่าระหว่างผู้มีพระคุณที่
                      ชุบเลี้ยงมากับผู้ที่ให้กำเนิดโดยผูกพันทางสายเลือด อย่างไหนควรจะแสดงความกตัญญูมากกว่ากัน
                      ซึ่งกรรณะก็ไม่เกิดความสับสนภายในใจ โดยยึดหลักที่ว่าผู้ที่มีพระคุณคือผู้ที่ชุบเลี้ยงตนมามีความ

                      สำคัญมากกว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือด ดังตัวบทที่ว่า

                               “...ตั้งแต่เกิดมา ข้าก็เห็นแต่นายสารถีอธิรถและนางราธาภรรยาเป็นผู้เลี้ยงดูข้ามา

                         ครั้นเติบใหญ่ ข้าได้ดิบได้ดีก็เพราะราชวงศ์เการพ โดยเฉพาะทูลกระหม่อมธฤตราษฎร์กับ
                         องค์ทุรโยธน์นั้นมีพระคุณต่อข้ามาก จะให้ข้าลืมข้าวแดงแกงร้อนที่ฝ่ายเการพได้ชุบเลี้ยงข้า

                         มาแล้วหันไปคบกับฝ่ายตรงข้ามนั้น ข้าทำไม่ได้!...” (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย,
                         2550:139)


                            จากตัวบทจึงสะท้อนหลักความกตัญญูในทัศนะของกรรณะได้ว่าการอบรมเลี้ยงดูและการ
                      กล่อมเกลาทางสังคมในสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง มีความสำคัญมากกว่าสายสัมพันธ์

                      โดยกำเนิด จึงเลือกจะกตัญญูต่อผู้ที่เลี้ยงดูมากกว่าผู้ที่ให้กำเนิด แม้ว่านางกุนตีผู้เป็นมารดาแท้ๆ
                      จะขอร้องให้กรรณะไปอยู่กับฝ่ายปาณฑพเพื่อพี่น้องจะได้ไม่ฆ่าฟันกันเอง แต่กรรณะก็หาได้เชื่อฟังไม่

                      ปรัชญาในมหาภารตยุทธจึงสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหน้าที่ให้สมบูรณ์ใน
                      การบรรลุเป้าหมายสูงสุดของการมีชีวิตมากกว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือดโดยการทำหน้าที่ของ
                      วรรณะกษัตริย์ที่ต้องรบกับพี่น้องและปู่ลุง แม้ว่าก่อนการรบจะแสดงซึ่งความเคารพและสำนึก

                      ในบุญคุณอันถือเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีอย่างหนึ่งก็ตาม หรือแม้แต่ในความสัมพันธ์
                      อันใกล้ชิดระหว่างบุตรกับบิดาที่บุตรก็ต้องจับอาวุธสู้รบกับผู้เป็นบิดา อย่างกรณีของอรชุนที่กล่าวกับ

                      พภฺรูวาหนะโอรสที่เกิดกับนางจิตรางคทาแห่งนครมณีปุระดังข้อความที่อรชุนกล่าวว่า

                               “เจ้าถือกำเนิดมาในตระกูลกษัตริย์ มีหน้าที่ที่จะต้องสู้รบเพื่อปกป้องแผ่นดินอันเป็น

                         ที่รักและหวงแหนของเจ้า เหตุไฉนเจ้าจะยอมมอบบ้านเมืองให้แก่ศัตรูเสียง่ายๆ เช่นนี้
                         แม้เราจะเป็นพ่อของเจ้า แต่เราก็เป็นศัตรูมีอาวุธอยู่ในมือ...จงหยิบอาวุธขึ้นมารบ แม้แต่กับ
                         พ่อของเจ้าเถิด หากว่าเขามาในฐานะศัตรู” (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย, 2550:228)


                            ตีความได้ว่าปรัชญาฮินดูมองว่าแม้เป็นบิดา ก็ไม่มีข้อยกเว้นในเงื่อนไขเฉพาะบาง

                      สถานการณ์ที่บิดาเข้ามาในฐานะศัตรูที่มีอาวุธในมือ แม้บุตรจะต้องฆ่าบิดาก็ไม่ถือว่าผิด
                      โดยสถานการณ์นี้จะมีเงื่อนไขในสถานภาพทางการเมืองที่ไม่ว่าบิดาหรือบุตรล้วนอยู่ในฐานะของ

                      ผู้ปกครองในวรรณะกษัตริย์ที่มีหน้าที่ต้องปกป้องอาณาจักรและผู้ใต้ปกครองของตน ซึ่งแตกต่าง             เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      จากปรัชญาขงจื่อที่แม้ว่าบุตรจะอยู่ในฐานะผู้ปกครองหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ควรจะเข้าทำร้ายบิดา
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247