Page 385 - kpi15476
P. 385

3 4     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           ซึ่งหลายฝ่ายก็มองว่าทรงอ่อนแอไม่ใช้อำนาจเด็ดขาด สำหรับประชาชนผู้จะมีส่วนได้
                           ส่วนเสียโดยตรงจากนโยบายของประเทศนั้น ทรงเน้นว่าจะต้องจัดการศึกษาพื้นฐาน

                           เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง และเมื่อเกิดมีการปกครองแบบ
                           ประชาธิปไตยขึ้นจริง ประชาชนจะได้มีความรู้เท่าทันสามารถออกไปใช้สิทธิออกเสียงได้
                           อย่างมีข้อมูล ไม่ตกเป็นเหยื่อของความเข้าใจผิดหรือความใฝ่ฝันที่โฆษณาเกินความเป็น

                           จริงได้


                           ในเรื่องการศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิตนั้น ทรงทำพระองค์เองเป็นตัวอย่าง โดยทรงอ่าน
                           หนังสือต่างๆ ทุกชนิดจำนวนมาก รับฟังวิทยุเป็นประจำ และเสด็จทอดพระเนตรภาพ
                           ยนตร์ใหม่ๆ ทั้งที่โรงและในวังของพระองค์เอง เสด็จไปฟังการบรรยายของนักปราชญ์

                           ไทยและนักปราชญ์ต่างประเทศที่สยามสมาคม และเสด็จออกไปเยี่ยมเยียนพบปะ
                           ข้าราชการและประชาชนในหัวเมืองภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งเตรียมการที่จะเสด็จภาค

                           อีสานด้วย นอกจากนี้ยังได้เสด็จเยี่ยมเยียนประเทศที่ปัจจุบันนี้กำลังจะเป็น “ประชาคม
                           อาเซียน” ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในความปกครองของตะวันตก เมื่อเสด็จไปผ่าตัดพระเนตร
                           ครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา และครั้งที่สองที่อังกฤษ ก็ได้ทรงถือโอกาสเชื่อมโยง

                           สัมพันธไมตรี พบปะบุคคลสำคัญ และศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระหว่างที่
                           เดินทางก็ทรงติดตามการบิหารประเทศทางวิทยุโทรเลขประจำ และทรงเขียนบันทึก

                           ซักถามความเห็นและโต้แย้งด้วยเหตุผลกับที่ปรึกษาของพระองค์ในเรื่องต่างๆ เป็น
                           ระยะๆ


                    3.1.2.   ทรงสร้างระบบและวัฒนธรรมของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐบาล
                           (Collective participative decision making) โดยพระมหากษัตริย์ยังคงเป็นผู้ทรง

                           ตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลของการตัดสินใจนั้น แต่ให้มีองค์คณะบุคคลมาแสดง
                           ความคิดเห็น ถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยกัน แทนที่จะให้ทุกๆ เรื่องถูก
                           นำเสนอขึ้นไปเป็นแท่งปีรามิด ไปยังผู้มีอำนาจสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรง

                           ตัดสินใจแต่พระองค์เดียว ซึ่งทรงเห็นว่ามีข้อจำกัดอยู่มากตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิ
                           ราชในยุคที่สถานการณ์ประเทศมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในการประชุมสภาที่ปรึกษา

                           ด้านต่างๆ ในประเทศก็โปรดให้ฝ่ายต่างๆ แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภาที่ปรึกษา
                           อย่างเอาใจใส่ก่อนที่จะทรงตัดสินใจในนโยบายสำคัญๆ เป็นต้น ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด
                           ของการสร้างระบบการตัดสินใจร่วมกัน คือโปรดให้ตั้งองค์กรที่ทรงเรียกว่า “สภา” ขึ้น

                           5 คณะคือ


                            ก)   สภาที่ปรึกษาราชการสูงสุด เรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา” ซึ่งทรงตั้งขึ้นเพียง 3 วัน

        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   “A bad King” ใช้อำนาจในทางที่มิชอบ สภานี้ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
                               หลังขึ้นครองราชย์ และทรงอธิบายในที่ประชุมภายหลังว่า ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้


                               ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่ได้เคยปฏิบัติบริหารราชการในกระทรวงต่างๆ มาแล้ว
                               อย่างมีผลดี และเป็นผู้ที่ทรงเชื่อว่าไม่แสวงหาประโยชน์ ได้แก่ สมเด็จฯ เจ้ากรม

                               พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ
   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389   390