Page 384 - kpi15476
P. 384
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 3 3
ข) การปูพื้นฐานทางกฎหมายในด้านต่างๆ ของสังคมไทย เพื่อปรับเปลี่ยนสังคมไทยไปสู่
ความเป็นสากลและความเป็นสังคมประชาธิปไตย
การปูพื้นฐานทางความคิดและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆนั้น เราจะศึกษาได้จากลายพระราช
หัตถเลขาที่ทรงซักถาม ทรงอภิปราย และทรงถกเถียงในประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาของประเทศ
และพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่กลุ่มบุคคลต่างๆ ในหลากหลายโอกาสพื้นฐานทางด้าน
การพัฒนาสังคมนี้ อาจจะจับต้องมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก (เรียกว่า intangible) เพราะต้องศึกษา
เปรียบเทียบกับบริบทและเหตุการณ์ในช่วงนั้นๆ แต่ก็สามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์ได้ดังนี้
3.1 ทรง ”สร้างวัฒนธรรมการทำงาน ในการปกครองบ้านเมืองใหม่”
เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับสังคมไทยแบบประชาธิปไตย ที่ทรงแน่ใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคต
ผลงานในแง่นี้ ไม่ค่อยมีคนเล็งเห็นว่าสำคัญมากนัก เพราะช่วงรัชกาลของพระองค์สั้น และหลัง
จากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใหม่แล้ว ก็ไม่ค่อยมีคนสนใจผลงานในรัชสมัยของพระองค์
อย่างไรก็ดี ได้ทรงแสดงความริเริ่มและมุ่งมั่นปฏิบัติตาม “วัฒนธรรมใหม่” นี้เองอย่างเป็นระบบ
และจริงจัง ทรงปฏิบัติต่อเนื่องตลอด 9 ปีในรัชสมัยของพระองค์ นับเป็นพื้นฐานที่แปลกใหม่ใน
การบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเตรียมวางรากฐานการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจ ดังนี้
3.1.1 ทรงสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (The culture of
lifelong learning) ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน ทุกระดับ ทรงเริ่มต้น
จากพระองค์เอง ดังจะเห็นได้จากทรงเขียนบันทึกที่มีความยาว มีเหตุมีผล ไปยัง
อภิรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของพระองค์หลายครั้ง และได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะ
ต้อง “Educate ourselves and our people” เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับกับการ
เปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็คงเนื่องมาจากได้ทรงมองเห็นตัวอย่างการล่มสลาย
ของจักรวรรดิใหญ่ต่างๆ ในยุโรปและการเปลี่ยนแปลงในจีน และมองเห็นแนวโน้มของ
กระแสประชาธิปไตย และกระแสมวลชนที่ได้แผ่ขยายไปทั่วโลก
ทรงเห็นว่า ยิ่งพระองค์ทรงเป็นเป็นผู้ที่อยู่ในระดับผู้นำหรือผู้บริหารรัฐบาลแล้ว การ
ศึกษา ยิ่งจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดวิถีชีวิตประชาชน และปัญหาเรื่อง
ต่างๆที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว คือต้องทรงเรียนรู้ใหม่ๆ ต้องปรึกษาหารือรับฟังความคิดเห็นจาก
ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องรอบด้าน ต้องให้สังคมทดลองแสวงหารูปแบบที่เหมาะสม
ที่สุด เช่น เรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น และจำเป็นต้องให้ข้าราชการของพระองค์ออก
ไปค้นคว้าแสวงหาข้อมูลเปรียบเทียบจากประเทศต่างๆ ด้วย เพื่อนำมาวิเคราะห์ เสนอ
ให้ความรู้หรือการศึกษาในด้านนั้นๆ แก่บุคคลที่อยู่ในระดับตัดสินใจ เพื่อจะได้ตัดสินใจ
บนพื้นฐานของข้อมูลความรู้ เป็น “Informed decision” สำหรับกลุ่มข้าราชการที่ถูก
กระทบเช่นนายทหารที่ถูกตัดงบประมาณ ก็ทรงพยายามชี้แจงเหตุผลทำความเข้าใจ
อย่างเปิดเผย ทรงกล้าที่ยอมรับว่าไม่ทรงสันทัดและต้องฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย