Page 386 - kpi15476
P. 386
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 3 5
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพ สมเด็จฯ
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สภาที่ปรึกษาชุดดังกล่าวนั้นมีหน้าที่พิจารณาข้อเสนอแนะ
ของกระทรวงต่างๆ และควบคุมแก้ไขปัญหาที่คณะรัฐมนตรีเสนอมา พระองค์เอง
ทรงเป็นเสมือนนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณา แต่ในหลายๆ กรณีก็มีความ
ขัดแย้งกันระหว่างกระทรวง จึงทรงกำหนดให้สภาอภิรัฐมนตรีประชุมอภิปราย
พิจารณาเรื่องต่างๆนั้น ต่อพระพักตร์พระองค์เป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะทรงตัดสินใจ
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ
ข) สภาองคมนตรี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงตั้ง
ขึ้นเพื่อเป็นเครื่อง “เหนี่ยวรั้งการใช้พระราชอำนาจในทางที่ผิด” ช่วยทำหน้าที่
บริหารประเทศ คล้ายกับรัฐสภาในปัจจุบัน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
มีความสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นในเรื่อง
ราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา
ค) เสนาบดีสภา หรือสภาคณะรัฐมนตรีซึ่งเคยมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แต่ไม่มีบทบาท
มากนัก ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงกำหนดให้สภานี้ร่วมกำหนดนโยบายระหว่าง
กระทรวงก่อนที่จะนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วยเสนาบดีประจำกระทรวง
ง) สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับกระทรวง
ต่างๆ คือ กระทรวงกลาโหม ทหารเรือ ต่างประเทศ มหาดไทย และพาณิชย์ เพื่อ
ป้องกันประเทศ
จ) สภาการคลัง มีหน้าตรวจตรางบประมาณแผ่นดินโดยเฉพาะในช่วงที่มีวิกฤติ
เศรษฐกิจการคลังทั่วโลก และเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์การเงินของประเทศ
3.1.3. ทรงเปิดให้มีเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นเสรี (Free flow
of information and ideas) ที่กว้างขวางมากขึ้น ในช่วงเวลาที่ทรงครองราชย์นั้น
แรกๆ ทรงสนับสนุนหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ช่วยเผยแพร่นโยบายของรัฐบาลดังที่ได้เคย
ปฏิบัติมาในรัชกาลก่อนๆ แต่ต่อมาได้ทรงให้ยกเลิกการสนับสนุนดังกล่าวเสียเพราะ
เห็นว่าไม่สามารถจะสนับสนุนหนังสือพิมพ์ได้ทั่วถึงทุกฉบับ จึงดูจะเป็นการเลือกปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นธรรม ในขณะเดียวกันก็ทรงไม่จำกัดหรือกีดกันไม่ให้มีหนังสือพิมพ์ทั้งรายวัน
และรายสัปดาห์เกิดเพิ่มขึ้นใหม่มากมาย แม้ว่าอาจจะมีผลต่อมติมหาชนในสมัยนั้นอยู่
ไม่น้อย แต่ก็ทรงอนุญาตเพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นจากมุมมองที่หลากหลายของ
สังคม
หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยนั้นได้มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเพิ่มปริมาณมากขึ้น
จนเป็นธุรกิจการหนังสือพิมพ์อย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 6 หนังสือที่มีจำนวนมาก
นั้น ในความเป็นจริงก็ช่วยส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้แก่คนไทยได้ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
อย่างมากด้วย เพราะในยุคนั้นการศึกษาประชาบาลเริ่มต้นแล้ว และหาก ผู้คนเรียน