Page 387 - kpi15476
P. 387
3 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
พออ่านออกเขียนได้ แล้วเลิกอ่านหลังจบจากโรงเรียน ไม่ช้าก็จะลืมการอ่านหนังสือ
ฉะนั้นหนังสือพิมพ์จึงนับว่ามีประโยชน์มากในแง่นี้ด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยเฉพาะก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 หรือ ค.ศ.
1932 นั้น มีจำนวนหนังสือพิมพ์เกิดเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ คือ มีหนังสือพิมพ์เกิด
ใหม่ถึง 136 ฉบับที่ออกไม่เป็นประจำทุกวัน ส่วนหนังสือพิมพ์รายวันมีมากถึง
56 ฉบับ ในจำนวนนั้นเอกชนหรือบุคคลเป็นเจ้าของมีถึง 38 ฉบับ ส่วนใหญ่ตีพิมพ์ใน
กรุงเทพฯ แต่ก็มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาจีนและยังมีความ
พยายามที่จะออกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นด้วย เช่น หนังสือพิมพ์ศรีเชียงใหม่ ออกทุก
10 วันในปี 1927 ปีเดียว เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ มีจำนวนหนึ่งที่ออกมามีอายุสั้นๆ
มีอยู่เพียงประมาณ 20 ฉบับเท่านั้นที่เปิดต่อในระยะยาวถึง 5 ปี และมี 4 ฉบับ
เท่านั้นที่อยู่รอดต่อมายาวนานถึง 27 ปี คือ หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
และหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไปแล้ว. ซึ่งรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้ามิได้
เข้าไปควบคุมหนังสือพิมพ์เหล่านี้โดยตรงเลย เพียงแต่ถ้าหากมีการตีพิมพ์ข้อความที่
จาบจ้วงบุคคลเป็นส่วนตัว ก็โปรดให้กระทรวงมหาดไทยตักเตือน
กงสุลอเมริกันในไทยในช่วงนั้นบันทึกเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ไทยที่เกิดใหม่จำนวนมากว่า
“เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลน้อย มีความรับผิดชอบน้อย คนอ่านไม่มาก อาจเรียกได้
ว่า “หนังสือพิมพ์ดอกเห็ด” นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ต่างชาติที่ศึกษาเหตุการณ์ใน
รัชกาลที่ 7 เช่น David Wyatt และ Benjamin Batson มีความเห็นว่า รัชกาลที่ 7
ทรงให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์มากกว่าในยุคสมัยต่อมา ซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนแปลงเป็น
ประชาธิปไตยแล้วเสียอีก
ในบรรดาหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 3 ฉบับ ที่ออกมาในช่วงนั้น คือ Bangkok Times
ซึ่งดูจะมีอิทธิพลมาในยุคนั้น Bangkok Daily Mail และ Siam Observer ส่วน
หนังสือพิมพ์ภาษาไทยที่มีคนอ่านมากและมีอิทธิพลสูงได้แก่ ศรีกรุง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่นั้นทรงเป็นนักอ่าน มีผู้บันทึกไว้ว่าทรง “อ่านหนังสือ
ตั้งแต่ทรงลืมพระเนตรตื่นบรรทม จนถึงเข้าบรรทมเลย” แม้พระเนตรจะมีปัญหามา
ตลอดก็ตาม และในบางช่วงทรงมองเห็นได้เลือนลางมาก การที่ทรงอนุญาตให้มี
หนังสือพิมพ์จำนวนมากมาย ในภาษาต่างๆ แม้บางครั้งการแสดงความคิดเห็นจะจาบ
จ้วงไม่สร้างสรรค์ แต่ก็ทรงอนุญาตให้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นของบุคคลในที่
สาธารณะ โดยไม่มีการปิดกั้น หรือสั่งปิดหนังสือพิมพ์ หรือเซ็นเซอร์ในยุคสมัยของ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ต่อการศึกษาตามอัธยาศัย กระตุ้นให้มีการขบคิดอภิปรายประเด็นปัญหาต่างๆ ของ
พระองค์ บ่งชี้ให้เห็นว่า ทรงเปิดให้บุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย ทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างชาติ มีเวทีแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในสังคม ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นผลดี
บ้านเมือง และสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งผลดีต่อพระองค์เอง คือ สามารถติดตาม
ความคิดเห็นที่แสดงออกหลากหลายของคนกลุ่มต่างๆ ได้ด้วย