Page 388 - kpi15476
P. 388
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 3
3.2. การสร้างพื้นฐานในด้านวินัยทางงบประมาณและการคลังให้แก่แผ่นดิน
3.2.1 ในช่วงที่เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนทางเศรษฐกิจ
ของไทยอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสของโลกด้วย ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่หลัง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงและไทยต้องทำการเจรจาลงนามในสนธิสัญญาหลาย
ฉบับแล้ว นอกจากนี้จักรวรรดิมหาอำนาจ 4 จักรวรรดิ คือ เยอรมนี รัสเซีย ออตโตมัน
และออสเตรียฮังการี ล่มสลายลงเพราะเหตุแห่งสงคราม ทำให้เศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรือง
กระทบไปด้วย ประเทศเก่าๆ บางประเทศหายไปจากแผนที่โลก มีประเทศใหม่ๆ
เกิดขึ้นและมีการขีดเส้นพรมแดนประเทศใหม่ขึ้น มีอุดมการณ์และความคิดใหม่เกิดขึ้น
ในหลายประเทศด้วย ประเทศเยอรมันผู้แพ้สงครามต้องลดกำลังทหารและอาวุธลง
อย่างบีบรัด ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนและทรัพยากรไปมาก สูญเสียดินแดนให้แก่ประเทศ
อื่นหลายประเทศ ผู้คนอดอยาก รัฐต้องจ่ายค่าปฏิมากรสงคราม ต้องนำทองคำสำรอง
ออกมาใช้จ่าย ในยุโรปเกิดไข้หวัดใหญ่ระบาดอีก ฝ่ายรัสเซียก็เกิดสงครามกลางเมือง
และการปฏิวัติ ผู้คนล้มตายหลายล้านคนและประเทศพังย่อยยับ
เศรษฐกิจโลกที่หดตัวอย่างรุนแรงเป็นปัญหาใหญ่มากหลังสงคราม เพราะการทำ
สงครามยาวนานถึง 4 ปีนั้นมีราคาแพงมาก หลายประเทศต่างก็นำทรัพยากรทาง
เศรษฐกิจไปใช้จนหมดหน้าตัก อังกฤษเองเคยทำการค้าขายทั่วโลก ก็ต้องชะงักลงไป
เพราะกองเรือที่จะใช้ขนส่งสินค้าถูกเยอรมันทำลายไปเกือบหมด เยอรมนีนั้นเกิดค่าเงิน
ตกต่ำลงทรุดฮวบในปี 1923 ส่วนสหรัฐอเมริกาก็เกิดปัญหาคนว่างงานมาตั้งแต่ 1921
ถึง 1923 ชาวนาอเมริกันก็ขายผลผลิตส่งออกไม่ได้ราคาอีกด้วย
3.2.2. การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจไทยรอบแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น
ครองราชย์สืบต่อจากรัชกาลที่ 6 ก็ทรงเผชิญกับปัญหาปัญหาเศรษฐกิจในรอบแรก
ทันที ซึ่งเศรษฐกิจไทยและการใช้จ่ายเกินดุลนั้น เกิดมาตั้งแต่สมัย ร.6 เพราะเหตุที่
ไทยต้องใช้จ่ายงบประมาณมากในการเข้าร่วมสงครามครั้งที่ 1 อีกทั้งในการเจรจาแก้ไข
สัญญากับประเทศต่างๆ ในการสร้างแนวทางชาตินิยมและการจัดกิจกรรมที่ทำให้ไทย
เข้าไปอยู่ในสายตาโลก การเป็นภาคีองค์ระหว่างประเทศ และการใช้จ่ายของกระทรวง
ต่างๆ รวมทั้งรายจ่ายของสำนักพระราชวังที่เพิ่มมากขึ้นด้วยนอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2460
- 2463 ยังมีปัญหาภัยธรรมชาติทำให้การผลิตข้าวตกต่ำอีกด้วย
ในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจช่วงแรก คือ ปี ค.ศ. 1921-1930 นั้น พระปกเกล้าเจ้าอยู่
หัวหัวทรงดำเนินการรวดเร็วมาก ทรงตั้งสภาเศรษฐกิจขึ้นเพื่อดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้
ทันที โดยทรงนั่งเป็นประธาน โปรดให้จ้างที่ปรึกษาการคลัง เป็นชาวอังกฤษชื่อ
Edward Cook ซึ่งเพิ่งเกษียณมาจากรับราชการในรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ท่านผู้นี้มี
ฉายาว่า “The Axe” เป็นมือหั่นงบประมาณและปรับลดขนาดกำลังคน (Retrenchment)
ของรัฐบาลอังกฤษในอินเดียมาแล้ว และเขาได้เสนอตัดลดงบประมาณของสยามและ
เสนอปรับลดกำลังคนในกระทรวงต่างๆ ทันที่ รวมทั้งตัดค่าใช้จ่ายที่เขาเรียกว่าไม่ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย