Page 389 - kpi15476
P. 389

3       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           Productive พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับแนวทางนี้และทรงทำ
                           พระองค์เป็นตัวอย่างโดย ให้ปรับลดค่าใช้จ่ายส่วนพระมหากษัตริย์ลง 40% ทำให้

                           กระทรวงต่างๆ และสภาอภิรัฐมนตรีที่มีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่า
                           พระองค์ต้องยินยอมให้ปรับลดงบของกระทรวงต่างๆ ให้ยุบรวมกระทรวงและหน่วยงาน
                           ในกระทรวง ปรับลดงบประมาณ และลดขนาดกำลังคนลง ตลอดจนมาตรการอื่นๆ

                           ตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญด้วย ซึ่งทำให้ระบบการจัดสรรงบประมาณมีวินัยพื้นฐานที่
                           เข้มแข็งขึ้น แต่ก็มีผลทางลบตามมา คือ ทำให้บรรดาคนไทยๆ หนุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา

                           มาหมดหวังจะเข้ารับราชการในปีนั้น และต้องไม่มีงานทำจำนวนมาก

                           แนวทางดังกล่าว ได้ช่วยสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่สำคัญ เพราะทำให้รัฐบาลมีนิสัย

                           รักษาวินัยในการทำงบประมาณและใช้งบประมาณ ซึ่งจะทำให้ระบบการเงินการคลัง
                           ของสยามมีวินัยและมีความมั่นคงมากขึ้น ไม่โลเลเกรงใจกันตามแนวการบริหาร

                           งบประมาณแบบที่ผ่านมาไป การวางแผนงบประมาณของแต่ละกระทรวงก็จะมีสัดส่วน
                           ที่สมเหตุสมผลมากขึ้น และมีการตัดรายจ่ายที่ไม่สร้างประโยชน์ (Unproductive
                           expenditure) ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และมีเงินเป็นเงินตราสำรองของแผ่นดิน

                           เพิ่มมากขึ้นด้วย สามารถนำไปใช้ในโครงการพัฒนาพื้นฐานสาธารณะอื่นๆ ที่เกิด
                           ประโยชน์ระยะยาวได้ เช่น การศึกษา สุขภาพอนามัยพื้นฐานของประชาชน และ

                           โครงการพื้นฐานอื่นๆที่จำเป็น หลังจากที่เซอร์เอ็ดเวิร์ด คุ้กทำงานเสร็จ แก้ไขปัญหาได้
                           และหมดวาระแล้ว ก็กลับไป


                    3.2.2  การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจรอบสอง วิกฤติรอบสองเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง
                           เป็นผลกระทบจากการหดตัวรุนแรงมากขึ้นอีกทางเศรษฐกิจของทุกประเทศใหญ่ๆ

                           ในโลก (The great depression) ตั้งแต่ 1929 และต่อเนื่องยาวนานไปจนถึง 1940
                           เพราะการที่เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ ในยุโรปหดตัวมาก่อนและค่อยๆ ส่งผลกระทบ
                           ไปทั่วโลกจนถึงสหรัฐอเมริกานั้นมีผลให้ตลาดหุ้นของอเมริกาทรุดจนถึงแตกพัง ผู้คน

                           ขายหุ้น ถอนเงินจากธนาคาร กระทบธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนมาก คนถูกเลิกจ้าง
                           งานเป็นล้านๆ คน ตกงานกันทุกเมือง ชาวนาน้อยๆ ก็ถูกกระทบด้วย ประธานาธิบดี

                           Hoover ตกเป็นเป้าและไม่ได้รับเลือกตั้งในปี 1932 ทำให้ประธานาธิบดี Franklin D.
                           Roosevelt ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และต่อมาได้ผลักดัน New Deal ออกมา
                           แก้ปัญหา แม้จะแก้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะธนาคารต่างๆ ยังมีปัญหาต่อไป และการหดตัว

                           ของเศรษฐกิจในอเมริกาก็ยังยืดเยื้อไปตลอดทศวรรษ 1930 แต่การมี New Deal ออก
                           มาก็ทำให้ผู้คนรู้สึกดีขึ้น (Feeling good)
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   Great Slump) ในช่วงทศวรรษ 1930 ซึ่งก็มีผลมาจากเศรษฐกิจโลกนั่นเอง การค้าขาย

                           ในประเทศอังกฤษเองซึ่งยังไม่ฟื้นตัวจากหายนะสงคราม ก็เกิดเศรษฐกิจทรุดฮวบ (The


                           ลดลงถึงครึ่งหนึ่ง อุตสาหกรรมหนักลดลงหนึ่งในสาม ในปี 1932 มีคนว่างงาน
                           3.5 ล้านคน ที่เหลือบางส่วนก็มีงานทำครึ่งเวลา ภาคเหมืองแร่ในภาคเหนือ

                           ในสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือและเวลส์ถูกกระทบมากที่สุด คนว่างงาน 70 %
   384   385   386   387   388   389   390   391   392   393   394