Page 390 - kpi15476
P. 390

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   3 9


                                เหตุการณ์ทั้งหมดทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเงินต้องขายทรัพย์สินในต่างประเทศ
                                ในเดือนเมษายน 1925 วินสตัน เชอร์ชิลนายกรัฐมนตรีของอังกฤษทำตามคำแนะนำ

                                ของธนาคารแห่งอังกฤษ คือ ปรับค่าเงินปอนด์เสตอรลิงกับระบบ มาตรฐานทองคํา
                                (Gold Standard) ซึ่งเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนก่อนสงคราม ทำให้การส่งออกสินค้าของ
                                อังกฤษมีราคาสูงขึ้น


                                สำหรับประเทศไทยในช่วงปี 1930-1932 นั้น มีทั้งวิกฤติการค้าและวิกฤติการเงิน

                                กระทรวงการคลังได้จ้างที่ปรึกษาใหม่เป็นคนอังกฤษที่ศึกษามาจากฝรั่งเศส ชื่อนาย
                                Hall Patch เขาใช้เวลาศึกษาระบบงบประมาณของไทยอยู่นานก่อนจะเสนอนโยบาย
                                และมาตรการทางเศรษฐกิจซึ่งที่ประชุมอภิรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย

                                เพราะเป็นการตัดงบประมาณครั้งใหญ่อีก ต้องมีการลดอัตราเงินเดือนลงอีก และยังมี
                                มาตรการทางภาษี ที่มีปัญหาถกเถียงกันมากก็คือเรื่องที่เงินตราของสยามไปเกาะติดกับ

                                มาตรฐานทองคำ (Gold standard) ทั้งๆ ที่อังกฤษเคยทำก่อนแต่ต่อมาได้ยกเลิกไป
                                แล้ว และเรื่องการเสนอลดค่าเงินบาทสยาม เป็นต้น การโต้แย้งในสภาอภิรัฐมนตรีต่อ
                                พระพักตร์ ยาวนานและรุนแรงทำให้ข่าวแพร่ออกไปถึงหนังสือพิมพ์แลข้าราชการรวม

                                ทั้งพ่อค้าประชาชน ทั้งๆ ที่ได้ทรงริเริ่มกำชับให้มีระบบเอกสารตอกตรา “ลับ” และ
                                “ลับมาก”


                                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้ทรงนั่งฟังการโต้แย้งของทุกฝ่าย และแม้
                                เมื่อเสด็จไปผ่าตัดพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาก็ทรงติดตามจากโทรเลขอย่างใกล้ชิด เมื่อ

                                ผู้รักษาพระนครแทนพระองค์ตัดสินใจตามมติที่ประชุมสภาการคลังและมีโทรเลขให้ทรง
                                เห็นชอบ ทรงเห็นชอบทันที แต่ก็ยังทรงถูกมองว่าไม่ทรงใช้อำนาจเด็ดขาดตัดสิน

                                พระทัย ในบางเรื่องฝ่ายที่ต้องรับผลกระทบก็ไม่พอใจและมีปฏิกิริยาโต้ตอบรุนแรง เช่น
                                กรณีที่สภาการคลังมีมติปรับลดงบประมาณที่กระทรวงกลาโหมเสนอขอเพิ่มเงินเดือน
                                นายทหารจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ได้รับการสนับสนุน จนถึงกับขัดแย้งกับกระทรวงการคลัง

                                ในที่ประชุม และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้ามีโทรเลขมาทรงเห็นด้วยตามที่กระทรวง
                                การคลังเสนอ พระองค์เจ้าบวรเดช รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งไม่ได้ชี้แจงเหตุผลกราบทูลทาง

                                โทรเลขในขณะนั้นก็ทรงลาออก เป็นต้น

                            นอกจากนี้ เมื่อได้ทรงตัดสินพระทัยในแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจรอบสองด้วยวิธีต่างๆ

                      ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนแล้ว ก็ยังทรงประสงค์จะอธิบายให้พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดที่เข้าถวาย
                      พระพรในวันฉัตรมงคลในปีนั้นให้รับทราบปัญหาและแนวทางแก้ปัญหานั้นอย่างละเอียดและ

                      เปิดเผย นอกจากนี้ในการประชุมนายทหารทุกเหล่าทัพในปีเดียวกันก็ได้ทรงมีพระราชดำรัส
                      ในทำนองเดียวกันเพื่อให้นายทหารได้รับทราบปัญหาด้วย เนื่องจากมีการปรับลดงบประมาณของ
                      กระทรวงกลาโหมลงมากที่สุด โดยทรงยอมรับว่าไม่ทรงสันทัดในด้านเศรษฐกิจ จึงต้องทรงรับฟัง

                      เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญที่ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเองและถกเถียงกันยาวนาน ทำให้การ
                      แก้ปัญหาล่าช้า แต่พระองค์ก็ทรงตัดสินตามที่ทรงเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในระยะยาว             เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      ซึ่งพระบรมราชดำรัสที่ปราศรัยในที่ประชุมในระดับดังกล่าวก็ยังมีการนำไปลงตีพิมพ์ใน
   385   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395