Page 391 - kpi15476
P. 391

390     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  หนังสือพิมพ์อีกด้วย อย่างไรก็ดี ความพยายามของพระองค์ที่จะทรงสร้างความเข้าใจและร่วมมือ
                  กันอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนั้น

                  แม้อาจจะไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีนักในยุคนั้นเพราะมีการตีความในหมู่นายทหารบางกลุ่มว่า
                  พระเจ้าอยู่ทรงอ่อนแอ แต่ก็เป็นแนวทางประชาธิปไตย และทำให้ทรงแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจได้บน
                  พื้นฐานของของข้อมูลความรู้ แต่แล้วความพยายามของพระองค์จะไม่เป็นผลดีดังเหตุการณ์

                  เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าหลายปี

                   3.3 การวางรากฐานการพัฒนาในด้านการศึกษา



                       เป็นที่น่าสังเกตว่า นักศึกษาประวัติศาสตร์ด้านการศึกษาไทย ส่วนใหญ่จะเน้นหนักให้ความ
                  สำคัญกับนโยบายการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 เป็นหลัก ซึ่งก็มีเหตุผลที่ดี เพราะเป็น

                  ช่วงสำคัญมากและมีการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญที่สุด แต่น่าเสียดายที่มักไม่มีการศึกษาการ
                  พัฒนาการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 อย่างลึกซึ้งนัก แม้จะพูดถึงการศึกษาประชาบาลใน
                  สมัยรัชกาลที่ 6 ตาม พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2464 ก็ตาม แต่ก็ขาดรายละเอียดการวิเคราะห์

                  ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ก็ยังมักจะมองข้าม 9 ปีในสมัยสมบูรณาญาสิทธิ
                  ราชในรัชกาลที่ 7 ไปเลย มาหยิบเรื่องการศึกษาสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไปแล้ว


                       ผู้เขียนบทความนี้เองเมื่อเป็นคณะกรรมการจัดทำหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาเป็นภาษา
                  อังกฤษเมื่อยี่สิบ สามสิบปีมาแล้ว ก็ทำความพลาดผิดข้างต้นนั้นด้วย ทั้งนี้ เพราะค้นหาเอกสาร

                  เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาในช่วง 9 ปีในรัชกาลที่ 7 ไม่ได้ง่ายๆ และคิดเอาว่ารัชสมัยของ
                  พระองค์สั้นเพียง 9 ปี และเต็มไปด้วยเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจกับวิกฤติการเมือง ไม่น่าจะมีช่อง

                  ทางที่จะได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและวัฒนธรรมได้มากนัก แต่เมื่อมามี
                  โอกาสศึกษาจดหมายเหตุสมัยพระองค์ซึ่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รวบรวมไว้อย่างละเอียด
                  จึงพบว่ารัชกาลที่ 7 ทรงสนพระทัยและตั้งพระทัยทำงานที่เป็นรากฐานของการศึกษาอย่างจริงจัง

                  ที่สุด บุคคลที่ทรงไว้วางพระทัยเลือกให้เป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษา (เรียกว่ากระทรวงธรรมการ
                  ในยุคนั้น) คือ หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล ซึ่งได้รับเลื่อนเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต

                  (เป็น พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
                  ประสูติแต่ หม่อมเอม กุณฑลจินดา ธิดาหลวงวรศักดาพิศาล ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชกุมาร
                  ในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาจนจบจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดที่ประเทศ

                  อังกฤษ แล้วเสด็จกลับมารับราชการใน ราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ)
                  เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาแบบไทยและแบบสมัยใหม่เนื่องจากได้เสด็จไปศึกษาที่

                  ประเทศอังกฤษตั้งแต่เยาว์วัยจนจบปริญญาตรี นอกจากนี้ รัชกาลที่ 7 ทรงสนับสนุนให้เสนาบดี
                  ของพระองค์เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เสด็จออกไปสัมผัสชีวิตของชาวบ้านโดยตรง ไม่ใช่
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   สำหรับประชาชน พ.ศ. 2464 หรือ ค.ศ. 1921 ออกมาเป็นธงชัยที่สำคัญ แต่การดำเนินการนั้น
                  รอรับรายงานจากหน่วยงานเสนอมาถ่ายเดียว


                       จริงอยู่ ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นั้นได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษา



                  ได้รับงบประมาณเพียง 3% ของงบประมาณทั้งหมดของประเทศ เพราะงบประมาณส่วนใหญ่
   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396