Page 392 - kpi15476
P. 392
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 391
จัดสรรให้กระทรวงกลาโหมสูงสุด รองลงมาคืองบของสำนักพระราชวัง ซึ่งงบการศึกษา 3 % นั้น
จนนักประวัติศาสตร์อย่าง David K. Wyatt เห็นว่าไม่เกิดเป็นผลที่ควร คือ จัดการศึกษาได้เป็น
ส่วนน้อยเท่านั้นไม่ทั่วถึงพื้นที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องปูพื้นฐานการศึกษาพื้นฐานของ
ประชาชนเพื่อเข้าใจและเตรียมความพร้อมไปสู่ประชาธิปไตย เพื่อจะได้ออกเสียงเลือกตั้งบน
พื้นฐานความรู้ความเข้าใจจริงๆ ซึ่งถ้าเราอ่านบันทึกที่พระองค์เขียนถึง Dr. Francis B. Sayre
หรือพระยากัลยาณไมตรี เรื่องปัญหาของประเทศสยามตั้งแต่ปีแรกๆ ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ และ
บันทึกบางฉบับถึงคณะอภิรัฐมนตรี จะเห็นว่า ทรงมองเห็นแล้วว่า ระบอบประชาธิปไตยจะต้องมา
ถึงในไม่ช้าอย่างแน่นอน ดังที่ทรงมีบันทึกถึงที่ปรึกษาชาวต่างประเทศว่า “วันเวลาของระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชนับวันจะเหลือน้อยลง” จึงทรงเร่งให้คณะทำงานด้านกฎหมายของพระองค์
ออกพระราชบัญญัติที่จะขยายพื้นฐานทางการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของประชาชน
ดังนี้
ก) ทรงตราพระราชบัญญัติแก้ไข พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930)
ขยายการศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มอีก ถึง 76.70% เพิ่มจากเดิมคือ 45.75%
ที่เคยจัดการศึกษาได้ใน พื้นที่ 2,311 อำเภอ ได้ทรงขยายเพิ่มเป็น 3,811 อำเภอใน
รัชสมัยของพระองค์ จนกระทั่งต่อมาเกิดมีวิกฤติเศรษฐกิจจึงต้องลดงบประมาณลงมาบ้าง
ข) ทรงยกเลิกเงินศึกษาพลี ซึ่งเป็นภาษีการศึกษาที่เก็บในท้องถิ่นสำหรับชายในวัย 18-60
ปีที่มีลูกหลานในวัยเรียนซึ่งมีอยู่ในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.
2464 (ค.ศ. 1921) เพื่อนำมาใช้จ่ายเป็นค่าจ้างครูในโรงเรียนประชาบาล เพราะทรง
เห็นว่าไม่เป็นธรรมและเป็นยุคข้าวยากหมากแพงอยู่แล้ว และให้ทรงตั้งงบประมาณขึ้น
ชดเชยให้
ค) ทรงตราพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2473 หรือ ค.ศ.
1930 ซึ่งในสมัยนั้นมีโรงเรียนเอกชนอยู่ 3 ประเภทคือ โรงเรียนของพวกมิชชันนารี
โรงเรียนไทยในวัด และโรงเรียนจีน ซึ่งเดิมอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยใช้หลักสูตรและ
ตำราเรียนตามความสะดวก แต่พระราชบัญญัติการศึกษา ที่ทรงแก้ไขใหม่ทำให้ต้องใช้
หลักสูตรที่มีมาตรฐานเหมือนโรงเรียนของรัฐบาล และยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียน
ตรวจตราให้กำลังโรงเรียนเอกชนเหล่านั้นในชนบทอีกด้วย
ง) ทรงให้กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงโครงการฝึกอบรมครูทั้งประเภทก่อนประจำการ
และขณะประจำการ โดยแยกเป็นการอบรมครูประถมและมัธยม สายศิลปะและสาย
วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ เพราะปรากฏว่าครูที่ทำงานในโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้จบจาก
โรงเรียนฝึกหัดครู
จ) ทรงให้ปรับปรุงการบริหารในกระทรวงศึกษาและธรรมการ ให้ยุบรวมหน่วยงานบาง เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
หน่วยตามนโยบายปรับลดงบประมาณ และเพิ่มกรมวิชาการและตำราเรียน และฝ่าย