Page 395 - kpi15476
P. 395

394     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           ในปัจจุบัน แนวคิดเรื่อง Home school ก็เป็นแนวคิดที่สำคัญ และดำเนินการอยู่ใน
                           หลายประเทศ และเป็นที่ยอมรับในระบบการศึกษาของหลายประเทศด้วย


                       ฌ)  ทรงส่งเสริมการศึกษาสตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงเห็นตัวอย่าง
                           ของศักยภาพและความสามารถของสตรีไทยในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งแต่ทรง

                           พระเยาว์ โดยเฉพาะสมเด็จพระราชมารดา และเมื่อเสด็จไปประทับที่ยุโรป ก็เป็นยุค
                           สมัยที่สิทธิสตรีได้รับการยอมรับสนับสนุนมากขึ้นในหลายประเทศในยุคนั้น


                           ในประเทศไทยนั้น สตรีไทยแต่เดิมได้เล่าเรียนความรู้ในด้านหนังสือเฉพาะสตรีชั้นสูงใน
                           วังเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น จนในรัชกาลที่ 4 จึงได้มีการยอมรับที่จะให้เด็กหญิงสามัญชน

                           สามารถเล่าเรียนทางหนังสือตามสำนักเรียนในวัดต่างๆได้ ต่อมาใน พ.ศ. 2417


                           โรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศสยามเกิดขึ้นโดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกันได้ก่อตั้ง
                           “โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง” (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) หลังจากนั้น ก็ได้เกิดโรงเรียน
                           สำหรับเด็กผู้หญิงขึ้นอีกหลายแห่ง เช่นใน ปี พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอม-

                           เกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “โรงเรียนสุนันทา” ขึ้น ที่ปากคลอง
                           ตลาด เพื่อเป็นอนุสาวรีย์แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ แต่ตั้งอยู่ไม่นานก็มี

                           อันต้องเลิกล้มไป จนถึงปี พ.ศ. 2440 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
                           โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โรงเรียนเสาวภาผ่องศรี” ขึ้น จากพระนามเดิมของพระองค์
                           ตรงบริเวณที่เป็นวังของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ข้างโรงเรียนราชินี

                           ปากคลองตลาดในเวลานี้ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนไป-กลับ ต่อมาในปี 2444
                           “โรงเรียนบำรุงสตรีวิชา” โรงเรียนสตรีของรัฐบาลแห่งแรกก็ได้เปิดที่บ้านเดิมของ

                           ขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เปล่ง เวภาระ) ที่ตำบลบ้านหม้อ (โรงเรียนเสาวภาผ่องศรี
                           ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2448 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถได้โปรดฯ ให้ตั้ง
                           โรงเรียนสตรีขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่บริเวณตึกมุมถนนอัษฎางค์กับถนนจักรเพชร ตำบล

                           ปากคลองตลาด แล้วพระราชทานนามว่า “โรงเรียนราชินี” แต่ในเวลาต่อมา ได้ย้ายไป
                           อยู่ที่ข้างวังหน้า ข้างวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ตรงข้ามกับ

                           โรงพยาบาลทหารบก ที่ถนนพระอาทิตย์ จนถึงปี พ.ศ. 2449 จึงย้ายมาอยู่ที่ตึก
                           สุนันทาลัยปากคลองตลาด หรือในสถานที่ตั้งปัจจุบันนี้เอง


                           ในรัชกาลที่ 7 ทรงเห็นว่าสตรีไทยยังขาดการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมอยู่มาก ทำให้
                           เด็กหญิงที่มีสติปัญญาดีเมื่อเรียนจบมัธยมไม่ได้พัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง หลังจากที่ได้

                           ทรงเปิดสาขาวิชาในระดับปริญญาขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วและเปิดรับ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย       นอกจากนี้รัชกาลที่ 7 ทรงส่งเสริมการศึกษาสตรีจากบุคคลใกล้พระองค์ก่อน เมื่อทรง
                           นักศึกษาไม่จำกัดเพศ ก็ปรากฏมีสตรีสมัครเข้าเรียนจำนวนมาก โดยเฉพาะวิชาแพทย์

                           มีผู้หญิงสมัครเข้าเรียน 7 คนในปี ค.ศ. 1927 โดยสามารถจบการศึกษาตามระยะเวลา
                           ที่หลักสูตรกำหนดไว้ จำนวน 3 คน และจบในปีต่อมาอีก 2 คน




                           สมรสนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีพระชนมายุเพียง 14 และได้รับการ
   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399   400